ตัวเก็บประจุแบบ SMD บางครั้งเรียกว่า ตัวเก็บประจุ แบบชิป เนื่องจากมันมีลักษณะเป็นแผ่นเหมือน Chip อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบ SMD มีขนาดเล็ก ช่วยลดขนาด PCB และทำให้อุปกรณ์หรือเครื่องมีขนาดเล็กลง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ ที่เน้นพกพาสะดวกจึงเน้นใช้อุปกรณ์แบบ SMD ในวงจร ในปัจจุบันเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ รุ่นใหม่ๆ ที่ผลิตออกมาในตลาดก็จะใช้ อุปกรณ์แบบ SMD เพิ่มขี้น ดังนั้นการเรียนรู้เกียวกับอุปกรณ์ SMD จึงเป็นสิ่งจำเป็น
ถ้าพูดถึง ตัวเก็บประจุแบบ SMD เรามุ่งหมายถึงตัวเก็บประจุที่ ใช้วิธีการบัดกรีแบบเปะติ ดลงบนพื้นผิว PCB มิได้หมายถึงชนิดวัสดุที่ใช้ ทำฉนวนไดอิเล็กตริกของตัวเก็บประจุ ตัวเก็บประจุแบบ SMD ใช้ฉนวนไดอิเล็กตริกหลายชนิด เพื่อป้องกันการสับสน การระบุชื่่อต้องระบุให้ครบ
เช่น ตัวเก็บประจุแบบ SMD ชนิดเซรามิค ตัวเก็บประจุแบบ SMD ชนิดแทนทาลัม ตัวเก็บประจุแบบ SMD ชนิดฟิล์มพลาสติก เป็นต้น Capacitor ตัวเก็บประจุเขียนว่า คาปาซิเตอร์ ไม่ใช่ คาปาซิสเตอร์
เช่น ตัวเก็บประจุแบบ SMD ชนิดเซรามิค ตัวเก็บประจุแบบ SMD ชนิดแทนทาลัม ตัวเก็บประจุแบบ SMD ชนิดฟิล์มพลาสติก เป็นต้น Capacitor ตัวเก็บประจุเขียนว่า คาปาซิเตอร์ ไม่ใช่ คาปาซิสเตอร์
ชนิดของ ตัวเก็บประจุแบบ SMD
แบ่งตามวัสดุที่ใช้ทำฉนวนไดอิเล็กตริก ที่พบเป็นส่วนมาก 3 ชนิดแรก
1) ตัวเก็บประจุแบบ SMD ชนิดเซรามิค (Ceramic Capacitor ) มีใช้มากที่สุด
2) ตัวเก็บประจุแบบ SMD ชนิดแทนทาลัม ( Tantalum Capacitor )
3) ตัวเก็บประจุ แบบ SMD ชนิดอิเล็กโตรไลต์ ( Aluminum Capacitor )
นอกจากนี้ยังมี ตัวเก็บประจุแบบ SMD ที่ใช้ฉนวนไดอิเล็กตริกชนิดอื่นๆ เช่น Polymer Capacitor , Film Capacitor , Thin Film Capacitor เป็ นต้น วัสดุที่ใช้ทำ Dielectric ต่ างกัน คุณสมบัติทางไฟฟ้าก็จะแตกต่างกั นและสีของตัวเก็บประจุก็จะต่างกั นด้วย สังเกตดูรูปด้านล่าง
คนออกแบบวงจรจะเป็นคนเลือกชนิดของตัวเก็บประจุเพื่อนำมาใช้ให้เหมาะกับวงจร
คนออกแบบวงจรจะเป็นคนเลือกชนิดของตัวเก็บประจุเพื่อนำมาใช้ให้เหมาะกับวงจร
ยกตัวอย่างเช่น วงจรต้องการความเสถียรต่ออุ ณหภูมิสูงมาก จะเลือกใช้แบบ Tantalum แต่ข้อเสียก็คือราคาแพง ถ้าต้องการตัวเก็บประจุไปใช้ กับวงจรความถี่สูงก็ต้องเลือกรุ่ นที่ระบุสเปคไว้ว่า High Q, Low Loss, Ultra Low ESR ถ้านำไปใช้กับวงจรที่มีอุณหภู มิสูงก็ต้องเลือกสเปค High Temperature เป็นต้น
รูป Ceramic Capacitor แบบ SMD แบบนี้มีใช้มากที่สุด
รูป Tantalum Capacitor แบบ SMD
สังเกตที่ตัวเก็บประจุจะมีแถบระบุขั้ว + -
รูป Aluminum Capacitor แบบ SMD และ เคสโลหะ
รูป ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า แบบ SMD
เกรดของ Ceramic Capacitor
แบ่งตามความเสถียรต่ออุณหภูมิ และแรงดันไฟฟ้า
เรียงจากเกรดดีที่สุดไปหาน้อยสุ ดดังนี้ COG NPO X8R X7R X7S X5R Y5V
ถ้าไม่ทราบเกรดของตัวเก็บประจุ ก็ให้ใช้ตัวเก็บประจุเกรดสูงไว้ก่อนคือ C OG / NPO ซึ่งเป็นตัวเก็บประจุ Class 1
ขนาดของตัวเก็บประจุชิป แบบ Ceramic
ตัวเก็บประจุแบบ SMD จะมีตัวเล็กตัวใหญ่ การเรียกขนาดจะเรียกเป็นรหัสตัวเลขตามมาตรฐาน EIA Size Code ยกตัวอย่างเช่น ตัวเก็บประจุ SMD ที่ยาว 3.2mm กว้าง 1.6mm สูง 0.85mm จะเรียกว่า Size 1206 เวลาซื้อก็บอกคนขายว่าต้องการตัวเก็บประจุ SMD Size 1206 เป็นต้น
ขนาดของตัวเก็บประจุชิป แบบ Ceramic
ตัวเก็บประจุแบบ SMD จะมีตัวเล็กตัวใหญ่ การเรียกขนาดจะเรียกเป็นรหัสตัวเลขตามมาตรฐาน EIA Size Code ยกตัวอย่างเช่น ตัวเก็บประจุ SMD ที่ยาว 3.2mm กว้าง 1.6mm สูง 0.85mm จะเรียกว่า Size 1206 เวลาซื้อก็บอกคนขายว่าต้องการตัวเก็บประจุ SMD Size 1206 เป็นต้น