
เปรียบเทียบชนิด ตัวต้านทาน
ชนิดของตัวทานค่าคงที่และรูปตัวต้านทานจำนวนมากดูเพื่อเปรียบเทียบช่วยให้เข้าใจง่าย
เราทราบกันดีแล้วว่าตัวต้านทานมีหลายชนิด ในทางปฏิบัติมี R ที่สีคล้ายๆกันจึงเป็นปัญหาในการแยกชนิดตัวต้านทานในบางครั้ง สำหรับคนที่มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวข้องกับตัวต้านทานหลายๆแบบจะไม่มีปัญหาเรื่องนี้แต่กลับกันสำหรับมือใหม่หลายครั้งพบว่าการระบุชนิดตัวต้านทานนั้นจำเป็นต้องหาประสบการณ์และข้อมูลเพิ่มเติม จากการสำรวจตลาดเราได้รวบรวม R แบบต่างๆที่มีขายแล้วแยกเป็นกลุ่มๆ ไม่ปนกัน จากนั้นทำการเปรียบเทียบให้ดูแบบชัดๆ มีรูปประกอบจำนวนมากช่วยให้เข้าใจง่ายและสามารถย้อนกลับมาดูเมื่อต้องการศึกษาได้ตลอดเวลา ก่อนที่จะทำการเปรียบเทียบขอเริ่มต้นด้วยการดูรูป R ชนิดต่างๆก่อน การเปรียบเทียบจะอยู่ในช่วงท้าย จะนำมากล่าวในบทความนี้เพียง 5 ชนิดเท่านั้น คือ ต้านทานชนิดผงคาร์บอน ต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน ตัวต้านทานเมตัลฟิล์ม ตัวต้านทานทนความร้อน หรือ Metal Oxide Film Resistor และ ตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์
(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)
1. ตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอน ( Carbon Composition Resistor )
2. ตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน ( Carbon Film Resistor )
1. ตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอน ( Carbon Composition Resistor )
2. ตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน ( Carbon Film Resistor )
4. ตัวต้านทานทนความร้อน หรือ Metal Oxide Film Resistor

ลักษณะ ตัวต้านทานทนความร้อน หรือ Metal Oxide Film Resistor
5. ตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์ ( Wirewound Resistor )

ลักษณะตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์ ตัวที่มีแถบสีก็เป็น R ไวร์วาวด์ ที่ทราบเพราะ Datasheet สเปคระบุไว้และซื้อตัวอย่างมาดูว่า ตัวต้านทานไวร์วาวด์ แบบแถบสีก็มีเช่นกัน

ลักษณะตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์ วัตต์สูงขึ้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้น
ตอนที่ 2 จะทำการเปรียบเทียบระหว่างตัวต้านทาน 2 ชนิด
1. เปรียบเทียบรูประหว่างตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มและ R ทนความร้อน
รูปแรกที่อยู่ในเทปกระดาษเป็นตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม จะสังเกตว่า R ทนความร้อนจะมีลักษณะสีที่หลากหลายและสีผิวจะด้าน ( ไม่มันวาว)

ตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มและ R ทนความร้อน รูปแรกที่อยู่ในเทปกระดาษคือตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม จะมีลักษณะมันวาวแสง ส่วน R ทนความร้อนจะมีลักษณะสีที่หลากหลายและสีผิวจะด้าน ( ไม่มันวาว)

ตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม และ R ทนความร้อน รูปแรกที่อยู่ในเทปกระดาษคือตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม จะมีลักษณะมันวาวแสง ส่วน R ทนความร้อนสีผิวจะด้าน ( ไม่มันวาว)
2. เปรียบเทียบรูประหว่างตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มและตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน
ตัวต้านทาน 2 ชนิดนี้จะมีลักษณะมันวาวแสงทั้งคู่ แต่ส่วนใหญ่แล้วตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มจะมีสีน้ำเงินและสีฟ้าอ่อน ส่วนตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอนจะเป็นสีครีมตามรูปด้านล่างฝั่งขวามือ
![]() |
ตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มจะมีสีน้ำเงินและสีฟ้าอ่อน ส่วนตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอนจะสีครีม ( รูปด้านขวามือ) |
ตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มจะมีสีน้ำเงินและสีฟ้าอ่อน( รูปล่าง)
ส่วนตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอนจะเป็นสีครีม ( รูปบน )
- 50 เรื่อง น่ารู้ อ่านเพิ่ม ด้านล่างนี้
- ตัวเก็บประจุ คาปาซิเตอร์ (20) โดย (20) = มี 20 เรื่อง
- ตัวต้านทาน รีซิสเตอร์ (22)
- ตัวเหนี่ยวนำ อินดักเตอร์ (6)
- ฟิวส์ FUSE (5)
- อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อื่นๆ (20)