ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ ( Metal Film Resistor) ตัวต้านทานคงที่ ค่าคงที่


ตัวต้านทาน    ฟิล์มโลหะ   Metal  Film  Resistor


ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู
ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะผลิตจากฟิล์มโลหะ (Metal Alloy Film )ฝากไว้บนแกนเซรามิค ฟิล์มถูกตัดเป็นเกลียวรอบแกนเซรามิค    รูปด้านล่างแสดงโครงสร้างข้างในตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ    ตรงปลายสองข้างมีฝาและ ขาตัวนำต่อออกใช้งาน ด้านนอกสุดเคลือบด้วยแลคเกอร์สีน้ำเงินอ่อน ( Light-Blue ) บางครั้งอาจเป็นสีฟ้า  มีค่าความต้านทานให้เลือกใช้งาน ( Resistance Range )  1 ohm จนถึงค่า Mega ohm  มีวัตต์ให้เลือกใช้งาน  1/8W  1/4W  1/2W    1W  2W    3W  4W    ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะมีค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิต่ำจึงมีสเปคที่ดี ( ค่ายิ่งต่ำยิ่งดี)  ค่าความคลาดเคลื่อนมีหลายสเปคให้เลือกคือ   ±0.5%  ±1% ±2%  ±5%   ยิ่งค่าความคลาดเคลื่อนต่ำจะมีราคาแพงขึ้น   ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะมีความเสถึยรดีกว่าตัวต้านทานชนิดคาร์บอนอย่างมาก
 ในระยาวคุณสมบัติก็มีความเสถียร ( Long term Stability )   มีสัญญาณรบกวนต่ำสำหรับรุ่นมาตรฐาน   สำหรับรุ่นพิเศษสเปคจะได้รับการปรับปรุงให้ดีกว่ารุ่นมาตรฐานเรียกว่า Precision Metal film ดังนั้นจะมีสเปคดีกว่ารุ่นมาตรฐาน ตัวอย่างสเปคพิเศษ  เช่น  Exceptionally low Noise  ,  Excellent High frequency Characteristic , superior Electrical TCR performance  , Controlled  temperature coefficient    เป็นต้น  ตัวต้านทานชนิดนี้นิยมใช้งานวงจรทั่วไป วงจรงานอุตสาหกรรม  วงจรในรถยนต์  
( Automotive Electronics)   วงจรความถี่สูงและความถี่วิทยุ



(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)


รูปแสดงการใช้งานตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะในวงจร



  ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ  อยู่ในแผงวงจร


ตัวต้านทาน   ชนิดฟิล์มโลหะ
   ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ  อยู่ในแผงวงจร


Metal  Film  Resistor
   ลักษณะข้างใน   ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ ( Metal Film)

                         
ตัวต้านทาน  Resistor
    ต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ ( Metal Film Resistor )                      


ตัวต้านทาน


ตัวต้านทาน

   ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ    สีฟ้าอ่อนก็มี



ขนาดของตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ
ขนาดของตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ  โดยใช้วัตต์เป็นเกณฑ์ดูในตารางจะเป็นขนาดของต้วต้านทานชนิดฟิล์มโลหะรุ่นมาตรฐาน  มีข้อยกเว้นถ้าเป็นสเปคพิเศษ Small Size , Ultra Miniature Style จะมีขนาดเล็กกว่ารุ่นมาตรฐานในขณะทีวัตต์เท่ากัน 
หน่วยเป็น mm  และอาจมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าขนาดในตารางเล็กน้อย  ± ขึ้นอยู่กับโรงงานผลิต


      ตารางแสดง ความสัมพันธ์ระหวาง  ขนาด และ  วัตต์ ของ R เมตัลฟิล์ม

 ต้วต้านทานชนิดฟิล์มโลหะมีค่าแรงดันใช้งานสูงสุด ( Maximum Working Voltage ) และแรงดันโอเวอร์โหลดสูงสุด  ( Maximum Overload Voltage )ตามตารางเป็นค่ามาตรฐานทั่วไป   ยิ่งตัวต้านทานมีค่าวัตต์สูงจะทนแรงดันใช้งานได้สูงและแรงดันโอเวอร์โหลดสูงสุดได้มากขั้นตามไปด้วย  ขณะเดียวกันตัวต้านทานตัวเล็กหรือวัตต์ต่ำก็ไม่ควรจะใช้งานที่แรงดันสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานทั่วไปที่แนะนำไว้    จากตารางถ้าใช้กับไฟ 220VAC  อย่างน้อยก็ควรจะใช้ขนาด   1/2 W เป็นต้น ไม่ควรใช้  1/4  วัตต์เพราะค่าพิกัดสูงสุดมันใกล้ค่าแรงดันใช้งานเกินไป  และไม่สามารถใช้ค่าพิกัดแรงดันที่ต่ำกว่าเช่น 1/8W


        ตารางแสดง ขนาดวัตต์ และ แรงดันไฟ AC ที่ควรใช้งาน


ตัวต้านทาน   เมทอลออกไชต์

ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ (  Metal  Film  Resistor)


(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)