ลิมิตสวิตช์ แบบต่างๆ Limit Switch
ลิมิตสวิตช์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานมากตัวหนึ่งในงานควบคุมและระบบอัตโนมัติ ช่างต้องเกี่ยวข้องกับลิมิตสวิตช์ในงานซ่อมและงานออกแบบระบบควบคุม ในการซ่อมส่วนมากช่างอยากใช้เบอร์เดิม บางครั้งก็ใช้รุ่นแทนได้เพราะต้องรีบซ่อมเพื่อไม่ให้เครื่องหยุดทำงานเป็นเวลานาน สเปคพื้นฐานของลิมิตช์สวิตช์คือชื่อรุ่นและชื่อผู้ผลิตซึ่งใช้อ้างอิงในการซื้ออะไหล่ สเปคละเอียดอื่นๆมีดังนี้
1.) พิกัดกระแสและแรงดันของสวิชต์ สูงสุดกี่แอมป์ กี่โวลต์ ?
2) วงจรไฟฟ้าข้างใน มีจำนวนหน้าสัมผัสกี่ NC กี่ NO ?
3) สเปคกันน้ำ กันฝุ่นหรือไม่ บางครั้งต้องติดตั้งในบริเวณที่มีโอกาสโดนน้ำหรือมีฝุ่นเยอะ ต้องใช้ลิมิตสวิตช์แบบกันน้ำกันฝุ่น จะบอกสเปคเป็น IP rating เช่น IP65 IP66 IP67 IP68
4) สเปคทางกลไก สามารถทำงานหรือเคลื่อนที่ไปมาได้กี่แสนครั้ง หรือกี่ล้านครั้ง
พิกัดกระแสและแรงดันของสวิชต์
ลักษณะหน้าสัมผัส จำนวน NC NO
ลักษณะหน้าสัมผัส จำนวน NC NO
5) ขนาด กว้าง ยาว สูง ระยะรูยึด และขนาดรู้ยึด
6) สเปคพิเศษ เช่น ทนแรงกระแทกได้สูงกว่าปกติ กันการระเบิดได้ รวมทั้งขอบเขตการใช้งานที่แนะนำไว้โดยผู้ผลิตสวิตช์
7) มาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องและผ่านการทดสอบ เช่น UL CSA NEMA EN IEC CE เป็นต้น หลายงานเน้นความน่าเชื่อถือในการทำงานของสวิตช์และสเปค ต้องใช้สวิตช์ที่มีคุณภาพสูงและผู้ผลิตที่มีเชื่อเสียงเท่านั้น
8) Actuator ของสวิตช์ คือตัวรับแรงจากภายนอกเพื่อส่งแรงขับต่อไปยังกลไกภายใน Actuator มีหลายแบบเรามาดูว่ามีแบบไหนบ้าง จะได้เรียกชื่อให้ถูกต้องใช้งานหรือตอนหาซื้ออะไหล่มาเปลี่ยน
Actuator ของสวิตช์แบบต่างๆ
ทบทวนอีกรอบ Actuator ของสวิตช์ คือตัวรับแรงจากภายนอกเพื่อส่งแรงขับต่อไปยังกลไกภายใน
Actuator หัวปุ่ม
Actuator หัวปุ่ม
Actuator ก้านสั้น และ ก้านยาว
Actuator ก้านสั้นมีปลายโค้ง
Actuator ก้านสั้นติดหัวลูกล้อ และ ก้านยาวติดหัวลูกล้อ
|
รูปที่2 ME-8169 Actuator ก้านขดลวดสปริง
รูปที่3 Actuator เส้นกลมเล็กปรับความยาวได้
รูปที่4 Actuator ก้านสปริงปลายไนล่อน
รูปที่5 Actuator ก้านติดหัวลูกล้อ