ตัวเหนี่ยวนำเป็นอุปกรณ์อิเล็ กทรอนิกส์ ชนิดพาสซิฟ (ไม่ขยายสัญญาณ)เช่นเดียวกั บตัวต้านทาน ส่วนอุปกรณ์ชนิดแอคทีฟซึ่งขยายสัญญาณเช่นทรานซิสเตอร์ โครงสร้างพื้นฐานของตัวเหนี่ยวนำคือเส้นลวดตัวนำที่หุ้ มฉนวนพันเป็นขดรอบแกน ยิ่งจำนวนขดที่พันมากก็จะได้ค่าความเหนี่ยวนำมากตามไปด้วย นอกจากนี้ค่าความเหนี่ยวนำยังขึ้ นอยู่กับชนิดของแกนและรู ปทรงของตัวเหนี่ยวนำด้วย ตัวเหนี่ยวนำมีหน่วยเป็นเฮนรี่ (henry) ใช้อักษรย่อ " H " ตั้งชื่อตามนักวิทยาศาสตร์ ชาวอเมริกันชื่อ Joseph Henry ในทางปฏิบัติมีค่าตัวเหนี่ยวนำให้เลือกใช้ งาน 1 ไมโครเฮนรี่ ( µH) ถึง 20 เฮนรี่ (20H) เนื่องจากโครงสร้างตัวเหนี่ ยวนำที่ทำจากเส้นลวดมันจะมีค่ าความต้านทานอยู่จำนวนหนึ่งด้ วยสิ่งนี้ทำให้เกิดการสูญเสี ยพลังงาน ลักษณะการพันเป็นขดที่ ความถึ่สูงมันจะมีคุณสมบัติเป็นค่าความจุ แฝงที่ความถี่สูงค่าหนึ่ งภายในตัวเหนี่ยวนำเองจะเกิ ดวงจรรีโซแนนซ์และเกิด self-resonant สำหรับรายละเอียดเรื่องนี้สามารถเรียนได้ในวิชาวิเคราะห์วงจร RLC และวงจรความถี่สูง
ตัวเหนี่ยวนำใช้งานในวงจรอนาล็อก วงจรแหล่งจ่ ายไฟ / วงจรฟิลเตอร์ต่อร่วมกับตัวเก็บประจุทำหน้าที่ กรองไฟให้เรียบ วงจรกำเนิดสัญญานไซน์เวฟ วงจรบายพาส วงจรฟิลเตอร์อื่นๆ วงจรปรับจูนความถี่ (tuned circuit) ในเครื่องรับ/เครื่องส่งวิทยุ
ตัวอย่างชนิดตัวเหนี่ยวนำ แบ่ งตามวัสดุที่ใช้ทำแกน
จากการซื้อตัวอย่าง ตัวเหนี่ยวนำมาดูหลายๆแบบพบว่าที่ตัวเหนี่ยวนำบางตัวระบุข้อมูลสเปคไว้น้อยบอกเพียงตัวเลขสเปคสั้นๆ ทำให้เราไม่ทราบข้อมูลสเปคที่ครบถ้วน สิ่งนี้อาจมีปัญหาในการซ่อมและการหาตัวเหนี่ยวนำทดแทนตัวที่เสีย ดังนั้นทักษะในการใช้มิเตอร์วัด การวิเคราะห์ชนิดอุปกรณ์และการอ่านลายวงจรจำเป็นต้องใช้สำหรับแก้ไขเมื่อเจอสถานะการณ์แบบนี้
ตัวเหนี่ยวนำแกนอากาศ
จะใช้วัสดุที่ไม่เป็นสารแม่ เหล็กมาทำแกน อาจใช้เซรามิค พลาสติก หรือวัสดุชนิดอื่นๆ การใช้วัสดุชนิดนี้จะได้ค่ าความเหนี่ยวนำที่ต่ำกว่าตั วเหนี่ยวนำที่ใช้แกนเป็นสารแม่ เหล็ก ข้อดีคือไม่มีความสู ญเสียเนื่องจากแกนและสามารถใช้งานที่ ความถี่สูงได้ ส่วนข้อเสียการใช้แกนอากาศอาจได้รั บผลกระทบจากการสั่นและการกดทำให้รูปทรงตัวเหนี่ยวนำเบี้ยว
ผลคือทำให้ค่ าความเหนี่ยวนำเปลี่ยนค่าตามไปด้วย
ผลคือทำให้ค่
ตัวเหนี่ยวนำแกนฟอร์ไรต์
ใช้ฟอร์ไรต์ทำแกนทำให้ใช้งานที่ ความถี่สูงได้
ส่วนใหญ่ใช้ฟอร์ไรต์ทำแกน มีเพียงบางตัวเท่านั้นที่ผู้ผลิตไม่ได้ระบุวัสดุไว้
ตัวเหนี่ยวนำทอรอยด์
รูปทรงเป็นวงทำให้ได้วงจรแม่ เหล็กแบบปิด เส้นแรงแม่เหล็กไม่แพร่ออกไปข้ างนอก ดังนั้นจึงมีสัญญาณรบกวนแพร่ ออกไปรบกวนวงจรอื่นๆน้อยเมื่อเปรียบเที ยบกับตัวเหนี่ยวนำแบบอื่นๆ ทำให้สามารถผลิตตัวเหนี่ ยวนำค่าสูงขณะที่มีขนาดเล็ก ตัวเหนี่ยวนำทอรอยด์ใช้ฟอร์ไรต์ทำแกนหรืออาจใช้ วัสดุอื่นๆทำแกนก็มี
โช้ค (Choke)
เป็นตัวเหนี่ยวนำพื้นฐานที่สุด ใช้เส้นลวดพั นเป็นขดรอบแกน ออกแบบมาเพื่อใช้บล๊อคไฟ AC ความถี่สูงและปล่อยให้ไฟ DC และไฟ AC ความถี่ต่ำ ผ่านไปได้
จากสมการความต้านทานไฟสสับของตั วเหนี่ยวนำ XL = 2πƒL ที่ไฟ DC ซึ่งไม่มีความถี่ หรือ ƒ = 0
แทนค่าจะได้ XL =0 ทำให้ไฟ DC ผ่านไปได้ ยิ่งความถี่สูงยิ่งได้ค่า XL สูงนั้นคือความถี่สูงผ่านไปได้ ยากหรือน้อย หรือถูกลดทอนขนาดสัญญาณลง
ตัวเหนี่ยวนำ Inductor อินดักเตอร์ |