ตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน ทำจากฟิล์มคาร์บอนฝากบนแกนเซรามิคและมีการตัดฟิล์มคาร์บอนเป็นเกลียว ขนาดของเกลียวที่สั้นยาวและแคบกว้างจะเป็นตัวกำหนดค่าความต้านทาน ด้านนอกสุดจะเคลือบด้วยแลคเกอร์สีแทน ( Tan color lacqure ) มีขาตัวนำต่อออกใช้งาน มีรหัสสีบอกค่าความต้านทานและ % ค่าความคลาดเคลื่อน มีค่าให้เลือกใช้งาน 1/8W 1/4W 1/2W 1W 2W 3W ค่าความต้านทานผลิตได้ตั้งแต่ค่าโอห์มต่ำ 1 ohm จนถึงค่า Mega โอห์ม มีค่าความคลาดเคลื่อนที่ ±2% ±5% จะสังเกตเห็นว่าต้วต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอนมีสเปคดีกว่าตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอน ปัจจุบันนิยมใช้งานมากแทนตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอน ตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอนนี้มีข้อดีกว่าตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอนคือมีสัญญาณรบกวนต่ำกว่า ขนาดของต้านทานชนิดผงคาร์บอนมี 2 แบบย่อยคือแบบ General or standard style และแบบ Mini / Miniature Style โดยแบบ Miniature Style จะมีขนาดที่เล็กกว่าแบบมาตรฐานขณะที่ค่าวัตต์ยังคงเท่ากัน ต้วต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอนนิยมใช้งานในวงจรพื้นฐาน วงจรทั่วไป ( Commercial application)
และวงจรงานอุตสาหกรรม ( Industrial application ) เนื่องจากมีข้อดีคือราคาถูก ส่วนข้อเสียของตัวต้านทานชนิดนี้คือมีความเสถียรต่ออุณหภูมิต่ำ จึงไม่เหมาะกับวงจรหรือจุดที่มีความร้อนสูง หรือความเสถียรของตัวต้านทานมีผลกระทบต่อการทำงานของวงจร
รูปแสดงการใช้งานตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์
แสดงโครงสร้างข้างในของตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน
มีแกนเซรามิคและฟิล์มคาร์บอนตีเป็นเกลี่ยว บริเวณตรงปลายมีฝาและขาต่อใช้งาน
ขนาดของตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน
ขนาดของตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอนโดยใช้วัตต์เป็นเกณฑ์ดูในตารางเป็นค่าทั่วไปหน่วย mm และอาจมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าขนาดในตารางเล็กน้อย ± ขึ้นอยู่กับโรงงานผลิต
ขนาดนี้ไว้ใช้เป็นแนวทางในกรณีไม่ทราบค่าวัตต์ของตัวต้านทาน ถ้าจับตัวต้านทานประจำจนคุ้นเคยจะสามารถบอกค่าวัตต์ได้เลยจากการดูด้วยตาเปล่า
ในสเปคจะบอกแรงดันใช้งานสูงสุด ( Maximum Working Voltage ) และแรงดันโอเวอร์โหลดสูงสุด ( Maximum Overload Voltage ) ยิ่งตัวต้านทานมีค่าวัตต์สูงขึ้