ตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอนเป็นตัวต้านทานที่ใช้ในงานไฟฟ้ าอิเล็กทรอนิกส์ยุคแรก ปัจจุบันยังคงมีใช้งานอยู่บ้างแต่น้ อย พบได้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เก่าที่ผลิตในสมัยก่อน ตัวต้านทานทำจากผงคาร์บอนละเอี ยดผสมผงวัสดุที่เป็นฉนวน(เซรามิ ค) อัดผสมเชื่อมกันด้วยเรซิน ค่าความต้านทานกำหนดได้จากอัตราส่ วนระหว่างผงฉนวนกับผงคาร์บอน ยิ่งผงคาร์บอนมีมากก็จะมีความนำไฟฟ้าสูงหรือมีค่าความต้านทานน้อย ผสมกันอัดเป็นแท่งทรงกระบอก มีขาตัวนำต่อออกใช้งาน ด้านนอกสุดเคลือบปิดด้ วยฉนวนและมีรหัสสีบอกค่ าความต้านทานและ ±% ค่าความคลาดเคลื่อน
ปัจจุบันตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอนไม่นิยมใช้งานเนื่ องจากมีตัวต้านทานชนิดอื่นที่มี คุณสมบัติที่ดีกว่าใช้งานแทน ตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอนมี ความเสถียรต่ำ ที่อุณหภูมิสูงค่าความต้ านทานจะเปลี่ยนค่าตามอุณหภูมิ ความชื้นจากสิ่งแวดล้อมก็ทำให้ คุณสมบัติของผงคาร์บอนเปลี่ ยนแปลงด้วย ในระยะยาวทั้งอุณหภูมิและความชิ้ นทำให้ค่าความต้านทานเปลี่ยนค่ า
มีค่าให้เลือกใช้งานตั้งแต่วั ตต์ต่ำจนถึงวัตต์ปานกลางอยู่ในช่วง 1/4W - 5W ค่าความต้านทานผลิตได้ตั้งแต่ค่ าโอห์มต่ำจนถึง Mega ohm ค่าความคลาดเคลื่อนดีที่สุดที่ผลิตได้คือ ±5% เรียงลำดับ ±5% ±10% และ ±20% ผู้ผลิตระบุคุณสมบัติของตัวต้ านทานชนิดนี้ว่า High surge cababilities , Designed for Pulse withstand for absorbing high energy pulses , for pulse -load handling , NON-inductive design . มีความสามารถในการทนพลังงานพั ลส์ชั่วขณะได้มากกว่าตัวต้ านทานชนิดฟิล์ม ตัวต้านทานชนิดนี้มีค่าความเหนี่ ยวนำต่ำจึงเหมาะกับใช้งานที่ ความถี่สูงในวงจรบางชนิด เช่น วงจรลดแรงดันพัลซ์ วงจรป้องกันแรงดันเสิร์จ วงจรควบคุมของพาวเวอร์ซัพพลาย วงจรควบคุมของตู้เชื่อม แต่อย่างไรก็ตามที่ความถี่สู งตัวต้านทานชนิดนี้มีนอยส์มากจี งไม่เหมาะกับการใช้ งานวงจรความถี่สูงที่เกี่ยวกั บสัญญานอิเล็กทรอนิกส์ ตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอนมี ความไวต่อความชื้นจึงควรเก็บให้ พ้นจากความชื้น
มีค่าให้เลือกใช้งานตั้งแต่วั
รูปและโครงสร้างข้างในของตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอน