ตัวเก็บประจุชนิดไมก้ามีฉนวนไดอิ เล็กทริคทำจากไมก้า ไมก้าเป็นกลุ่มแร่ธรรมชาติและแร่ไมก้ามีคุณสมบัติทางไฟฟ้า เคมี และทางกลที่เสถียร เนื่องจากโครงสร้างผลึกคริ สตอลที่มีลักษณะเฉพาะเรียงเป็ นชั้นจึงสามารถทำให้เป็นแผ่นบางๆได้พร้ อมทั้งได้คุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ ดีขึ้น ทนอุณหภูมิได้สูง ไมก้าไม่ทำปฏิกิริยากับกรดส่ วนใหญ่ น้ำ น้ำมันและสารละลาย ตัวเก็บประจุ ชนิดไมก้าที่ผลิตใช้งานอยูในปั จจุบันเรียกว่า Silver Mica
Capacitor โครงสร้างข้างในของตัวเก็บประจุ ชนิดไมก้าทำจากแผ่นไมก้าบางเรี ยงเป็นชั้นอย่างแซนวิช ที่ผิวของแผ่นไมก้าชุปด้วยเงิน (Silver)และวางเป็นชั้นเพื่อให้ ได้ค่าความจุที่ต้องการ ด้านนอกหุ้มปิดด้วยเซรามิกอีพ็อกซี่ เรซินเพื่อป้องกันตัวเก็บประจุ จากสิ่งแวดล้อมภายนอก ตัวเก็บประจุชนิดไมก้ามีค่ าความจุน้อยหน่วยเป็น pf nf และมี UF ค่าน้อยๆ วงจรที่ต้องการความเสถียรสู งและต้องการตัวเก็บประจุที่มีค่ าความจุเปลี่ยนแปลงน้ อยมากตลอดช่วงอายุการใช้งาน มีค่าความสูญเสียต่ำ ค่ าความจุน้อยๆพร้อมทั้งมีค่าความจุที่เชื่อถือได้สูง สถานะการณ์ที่ต้องใช้ตัวเก็บประจุมีคุณสมบัติดังกล่าวในการออกแบบวงจรจะเลือกใช้ตั วเก็บประจุชนิดไมก้า (ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิ คและอิเล็กโตรไลต์มีค่ าความคลาดเคลื่อนทั่วไปที่ ±20%)
ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า Mica Capacitor
ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า แบบ SMD
ข้อดี
- มีค่าความจุที่เที ยงตรงและความคลาดเคลื่อนน้อย มี ค่าต่ำที่สุดถึง ±1% ดีกว่าตัวเก็บประจุชนิดอื่นๆ เช่น ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิ คและอิเล็กโตรไลต์มีค่ าความคลาดเคลื่อนทั่วไปที่ ±20%
- เสถึยร ค่าความจุเปลี่ยนแปลงเพียงเล็ กน้อยตลอดช่วงเวลา นอกจากนี้ยังเสถียรในช่วงอุณหภู มิ แรงดันและความถี่ที่กว้าง ( Ultra stable no change with (t) , (V) , and (f) )
นอกจากนี้โครงสร้างที่หุ้มปิดด้วยเซรามิ กอีพ็อกซี่เรซินอย่างดีช่วยป้ องกันตัวเก็บประจุไม่ให้ได้รั บผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
- ความสูญเสียน้อย ตัวเก็บประจุชนิดไมก้ามีค่า ESR และ ESL ที่ต่ำ คุณลักษณะที่เกือบจะไม่เปลี่ ยนแปลงตามความถี่ ( Mostly Frequency Independent ) ทำให้ตัวเก็บประจุชนิดนี้ใช้ งานที่ถี่ความถี่สูงได้ดีมาก
ข้อเสีย
- มีขนาดใหญ่
- ราคาแพง ทำให้บางกรณีจะเลือกใช้ตัวเก็ บประจุชนิดเซรามิค Class 1 ซึ่งมีความเสถียรที่ดี มากและราคาถูกกว่ามาใช้แทน ( ในบางกรณีก็ใช้แทนไม่ได้ )
การใช้งาน
ตัวเก็บประจุชนิดไมก้ามีแรงดั นแบรกดาวน์ที่สูงและมีสเปค 100V ถึง 10KV ด้วยคุณสมบัติที่ดีหลายข้อดั งกล่าวข้างต้นทำให้ตัวเก็บประจุ ชนิดนี้นำไปใช้งานส่วนใหญ่กั บวงจร RF พาวเวอร์ และวงจรความถี่สูง ( ตัวเก็บประจุชนิดอื่นๆไม่ สามารถใช้ได้ ) ตัวอย่างวงจร เช่น วงจรพาวเวอร์ RF วงจรกรองความถี่่ วงจรออสซิลเลเตอร์ วงจรจูนความถี่สูง วงจรเครื่องส่งวิทยุ ( RF Transmitter ) , RF Power Amplifiers , Laser , ระบบสายอากาศ เครื่องมือแพทย์ย่านความถี่ RF นอกจากนี้ยังใช้งานในวงการอื่ นๆที่ความเสถียรของวงจรเป็นเรื่ องสำคัญยิ่ง เช่น เครื่องมือของทหาร อุปกรณ์ใช้งานในอวกาศ เครื่องมือแพทย์ เป็นต้น