ตัวถังของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใน Datasheet ใช้คำว่า CASE STYLE บางครั้งใช้คำว่า Package / Case สำหรับตัวถังแบบมาตรฐานแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1. แบบขายาวลง PCB ( Through Hole )
2. แบบ SMD หรือ Surface Mount Device ซึ่งแต่ละแบบก็มีชนิดย่อยๆลงไปอีก เวลาซื้ออะไหล่สำหรับมือใหม่อาจทำให้ซื้อผิดสเปคได้โดยเฉพาะสินค้าพวก IC SMD เวลาซื้อบอกคนขายว่าต้องการ IC เบอร์นี้แบบ SMD เวลาสินค้ามาจริงปรากฏว่าได้เบอร์ถูกต้องแต่ใส่ไม่ได้เพราะ IC มันกว้างเกินไป ใส่ไม่พอดีลายปริ้นตัวเดิม ทั้งนี้ก็เนื่องจาก IC SMD มันมี 3-4 แบบย่อยแต่ละแบบต่างกันที่ความกว้างของ IC เวลาซื้อก็ระบุจำนวนขาและความกว้างตัวถังของ IC ด้วยก็จะช่วยลดปัญหาการได้ของไม่ตรงสเปคเดิม เริ่มจากตัวถังของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เราใช้บ่อยที่สุดดังนี้
เคสแบบนี้เรียก DO35 |
เคสแบบนี้เรียก DO-41 |
CASE แบบนี้เรียก DO โดย DO ย่อมาจาก Diode Outline |
เคสแบบนี้เรียก TO-220 หรือ TO-220-3 3 หมายถึง 3 ขาถ้ามี 2 ขาเขียนเป็น TO-220-2 |
เคสแบบนี้เรียก TO-3 |
เคสแบบนี้เรียก TO-247AC Modified |
เคสแบบนี้เรียกว่า TO3PF |
เคสแบบนี้เรียกว่า TO225AA |
เคสแบบนี้เรียกว่า KBPC |
เคสแบบนี้เรียกว่า KBPC-W โดย W ย่อมาจาก Wire lead หมายถึงขายาว |
เคสแบบนี้เรียก DO-203AB, DO-5, Stud ถ้าจำไม่ได้เรียกสั้น ๆ ว่าแบบหัวน๊อตก็พอเข้าใจกัน |
ตัวใหญ่แบบนี้เรียกว่ามอดูล จริงมันมีชื่อเรียกเป็นทางการแต่ไม่ค่อยใช้เรียกกันในเคสทั่วไป |
IC มีขายาวลงปริ้นแบบนี้เรียก DIP ถ้ามี 6 ขาเรียก DIP-6 ถ้ามี 8 ขาเรียก DIP-8 ถ้ามี 16 ขาเรียก DIP-16 เป็นต้น |
IC มีขายาวลงปริ้นแบบนี้เรียก DIP-14 หมายถึงมี 14 ขา ถ้ามี 20 ขาจะเขียนเป็น DIP-20 |
IC มีขาแบบนี้เรียก SMD แบบ SOIC-20 โดยแบบ SMD ยังมีแบบอื่นๆเช่น TSSOP SOP SSOP PLCC QFN LQFP |