ช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยเหล่านี้เป็นประจำ
เพราะเวลาซ่อม ต้องปรับย่านวัดมิเตอร์ และการอ่านค่าสเปคอุปกรณ์มีค่าเป็นตัวเลขแล้วต้องตามด้วยหน่วยเสมอ เช่น กระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็น แอมป์ (A) แรงดันไฟฟ้า หน่วยเป็นโวลต์ ( V ) ตัวต้านทานหน่วยเป็นโอห์ม ( Ω) กำลังไฟฟ้าหน่วยเป็นวัตต์ ( W ) ความจุไฟฟ้า หน่วยเป็นฟารัด ( F ) ความเหนี่ยวนำไฟฟ้า หน่วยเป็นเฮนรี่ ( H ) ความถี่หน่วยเป็นเฮิร์ต ( Hz ) หน่วยมีความสำคัญมากในการวัด เช่นกระแสไฟฟ้า 1A 1mA และ 1µA มีความหมายต่างกันมาก
ตัวอย่างการใช้หน่วยวัดปริมาณไฟฟ้าในงานจริง
วัดแรงดันไฟ AC จากปลั๊กพ่วง ในรูปวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 220VAC
แต่เนื่องจากเป็นหอพักหลายชั้นไฟตกจึงมีไฟเพียง 207.2VAC สังเกตว่าที่หน้าปัดมิเตอร์
แสดงอักษร V และหน้าตัวเลข 207.2 มีสัญลักษณ์ ~ หมายถึงไฟฟ้ากระแสสลับ
วัด แรงดันไฟ 220 VAC หน่วย โวลต์ ( V )
วัดแรงดันไฟ DC ในรูปเป็นไฟจากแบตเตอรี่ 6VDC มิเตอร์วัดได้ 6.22V
สังเกตว่าที่หน้าปัดมิเตอร์ แสดงอักษร V และหน้าตัวเลข 6.22V
มีสัญลักษณ์ - หมายถึงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง
วัด แรงดันไฟ 6 VDC หน่วย โวลต์ ( V )
ที่หนัาปัดมิเตอร์ขึ้นสัญลักษณ์ A และ หน้าตัวเลข 0.060 ขึ้นอักษร AC หมายถึง เป็นไฟกระแสสลับ
วัดกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ หน่วย แอมป์ ( A )
วัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง จากรูปตัวอย่างการสาธิต ใช้ไฟจากแบตเตอรี่ต่อกับพัดลมระบายความร้อนขนาดเล็ก ที่หนัาปัดมิเตอร์ขึ้นสัญลักษณ์ A และ หน้าตัวเลข 0.104 ขึ้นอักษร DC หมายถึง กระแสไฟฟ้ากระแสตรง
วัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง หน่วย แอมป์ ( A) |
วัดตัวต้านทาน ในรูป เป็นการวัดตัวต้านทาน 10 โอห์ม มิเตอร์วัดได้จริง 9.8 Ω และ 100 โอห์ม มิเตอร์วัดได้จริง 100.5 Ω สังเกตว่า ที่หน้าปัดมิเตอร์ขึ้นสัญลักษณ์ Ω
วัดตัวต้านทาน หน่วย โอห์ม ( Ω )
วัดตัวต้านทาน หน่วย โอห์ม ( Ω )
วัดตัวเก็บประจุ ในรูปเป็นการวัดตัวเก็บประจุ 33 µF มิเตอร์วัดได้จริง 34.80 µF
ทีหน้าปัดแสดงหน่วยวัดเป็น µF
วัดตัวเก็บประจุ หน่วยฟารัด
วัดตัวเหนี่ยวนำ ในรูปเป็นการวัดตัวเหนี่ยวนำ ค่า 100µH มิเตอร์วัดได้จริง 102µH
ทีหน้าปัดแสดงหน่วยวัดเป็น µH สัญลักษณ์ µH จะอยู่หลังตัวเลข 102
วัดตัวเหนี่ยวนำ หน่วยเฮนรี่
วัดความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ 50Hz มิเตอร์วัดได้จริง 49.95 Hz
วัดความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ หน่วย เฮิร์ต
อุปกรณ์ไฟฟ้าระบุกำลังไฟฟ้าเป็นวัตต์ ดูรูปตัวอย่าง
หลอดไฟ LED ระบุกำลังไฟฟ้า 9 วัตต์ ( 9W )
ปลั๊กพ่วงระบุกำลังไฟสูงสุดที่รับได้หน่วยเป็นวัตต์
ปลั๊กพ่วง 2200W |
กำลังไฟฟ้า ( วัตต์) 485
โคมไฟอ่านหนังสือระบุกำลังไฟฟ้าหน่วยเป็นวัตต์ ตามรูปด้านล่างนี้ระบุที่ฉลาก
กำลังไฟฟ้า Total Power 5W
การอธิบายถึงปริมาณทางไฟฟ้าหน่วยที่ใหญ่มาก ๆและหน่วยที่เล็กมากๆ จะใช้คำอุปสรรคในหน่วย SI เติมข้างหน้าหน่วยหลักของปริมาณนั้น
กระแสไฟฟ้า
0.001A = 1/1,000A = 1X10-3 A
0.02A = 20/1,000A =20X10-3A
แรงดันไฟฟ้า
0.001V = 1/1,000V = 1X10-3 V
0.000001 = 1/1,000,000V = 1X10-6 V
กำลังไฟฟ้า
1000 W = 1X103 W
1,000,000W = 10 X 106 W
แปลงค่าอยู่ในรูปแบบอย่างง่าย Simplify form.
กระแสไฟฟ้า
0.001A = 1/1,000A = 1X10-3 A = 1mA
0.02A = 20/1,000A =20X10-3 A =20mA
แรงดันไฟฟ้า
0.001V = 1/1,000V = 1X10-3 V = 1mV
0.000001 = 1/1,000,000V = 1X10-6 A = 1uV
กำลังไฟฟ้า
1000 W = 1X 103 W = 1K W
1,000,000W = 1 X 106 W = 1M W
ความจุไฟฟ้า
0.000001F = 1/1,000,000F = 1X10-6 F = 1uF
0.000000010 F = 10/ 1,000,000,000 = 10X 10-9 F = 10nF
ตัวอย่างการใช้งานจริง
จากรูปแทนที่จะอ่านค่าตัวต้านทาน 45900 Ω เราจะนิยมอ่านเป็น 45.9 KΩ แทนเนื่องจากเขียนย่อและอ่านออกเสียงไม่ยาว เข้าใจง่ายด้วย
การวัดตัวต้านทาน หน่วย K โอห์ม