ตัวเก็บประจุ ชนิดอิเล็กทรอไลต์

ตัวเก็บประจุ  ชนิดอิเล็กทรอไลต์   Aluminum electrolytic capacitor


ตัวเก็บประจุ  ชนิดอิเล็กทรอไลต์   Aluminum electrolytic capacitor
                                            รูป  ตัวเก็บประจุ  อิเล็กทรอไลต์ ขนาด / ค่าต่างๆ 



ตัวเก็บประจุมีหลายชนิดแต่ที่นิยมใช้งานมากมี 4  ชนิด


1)  ตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลต์
2)  ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์มพลาสติก
3)  ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิค
4)  ตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลัม


ตัวเก็บประจุ  /  คาปาซิเตอร์ ชนิดต่างๆ


ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์ 
( Aluminum Electrolytic Capacitor )
รูปแสดงการใช้งานตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลต์  ในวงจร


คาปาซิเตอร์  Aluminum electrolytic capacitor




คาปาซิเตอร์  Aluminum electrolytic capacitor



ตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลต์มีชื่อเรียกตามไดอิเล็กตริกที่ใช้ทำฉนวนเป็นอิเล็กทรอไลต์ชนิดของเหล็วซึ่งทำหน้าที่เป็นชั้นของออกไซด์กั้นระหว่างแผ่นตัวนำทั้ง 2    ตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลต์  ( Aluminum electrolytic capacitor) มีขั้วบวก (+) และลบ  ( - )  ระบุไว้การใช้งานต้องต่อให้ถูกขั้ว ถ้าต่อผิดขั้วสารเคมีข้างในจะเปลี่ยนแปลงทำให้ฉนวนเสียหายและอาจระเบิดได้   ตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลต์สามารถผลิตได้ตั้งแต่ค่าความจุต่ำถึงค่าความจุสูง   0.1 µF ถึง  2,700,000 µF (2.7 F)
พิกัดแรงดันมีสเปคทนแรงดันต่ำจนถึงแรงดันสูงถึง    630VDC    รุ่นมาตรฐานสำหรับใช้งานทั่วไป ส่วนรุ่นที่ได้รับการปรับปรุงสเปคให้ดีขึ้นจะมีคุณสมบัติที่เหมาะกับวงจรเฉพาะงานมากขึ้น    ตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลต์แต่ละรุ่นจะมีคุณสมบัติเด่น  2-3 ข้อหรืออาจมากกว่า    ยกตัวอย่าง   เช่น สเปคระบุว่า   Long  Life 20000 Hour at  105°C หมายถึงรุ่นนี้ใช้งานทนมากกว่ารุ่นมาตรฐาน   สเปคระบุว่า  For  Power Supply หมายถึงเหมาะกับวงจรเหล่งจ่ายไฟ    ,   Automotive  สำหรับใช้งานวงจรในยานยนต์ ,  For General Audio Equipment หมายถึงเหมาะสำหรับใช้ทำวงจรขยายสัญญาณเสียง     Low Impedance and Long life for switch power supply หมายถึงมีค่าความต้านไฟสลับต่ำและอายุใช้งานยาวนานซึ่งเหมาะสำหรับทำวงจรสวิตชิ่งพาวเวอร์ซัพพลาย   ถ้าเราเอารุ่นมีสเปค Standard หรือ General Purpose ไปใช้กับวงจรสวิตชิ่งพาวเวอร์ซัพพลายตัวเก็บประจุจะร้อนมากและเสียเร็ว  ผลคือแหล่งจ่ายไฟก็จะอายุใช้งานสั้นเสียง่าย เป็นต้น   ถ้าใช้งานวงจรในยานยนต์ต้องใช้รุ่นที่ระบุสเปคเป็น Automotive Grade  เพราะจะมีสเปคที่เข้มกว่าแบบอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับสเปคทางไฟฟ้าสเปคทางกลและความปลอดภัยที่มีมาตรฐานกำหนดไว้     การใช้งานตัวเก็บประจุต้องดูคุณสมบัติเด่นของตัวเก็บประจุด้วยแล้วเลือกใช้ให้ถูกกับชนิดของวงจร 




แสดงโครงสร้างตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์    
ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์    ยังแบ่งย่อยออกเป็น  3 แบบย่อย
 1)  อิเล็กทรอไลต์แบบของเหลวหรือเปียก    (non-solid (liquid, wet) aluminum electrolytic capacitor)  แบบนี้ราคาไม่แพง นิยมใช้งานมากที่สุดและเป็นตัวเก็บประจุที่เราพบบ่อยที่สุดในวงจรอิเล็กทรอนิกส์
2)   อิเล็กทรอไลต์แบบของแข็งชนิด  manganese dioxide   (solid manganese dioxide aluminum electrolytic capacitor)  ได้รับการพัฒนาสเปคให้มีค่าความจุต่อพื้นที่สูงมากในขณะที่มีขนาดเล็ก   อายุการใช้งานยาวนาน ทำงานเสถียรในระยะยาวเมื่อเทียบกับแบบแรก  มีค่าความต้านทาน ESR ต่ำ ทนกระแสริปเปิ้ลได้สูงกว่า  ทนกระแสพุ่งได้มากกว่า  ไม่มีการระเหยของน้ำยาอิเล็กทรอไลต์    ตัวเก็บประจุชนิดนี้นิยมใช้ในวงจรฟิลเตอร์   วงจรคัปปลิ้งและดีคัปปลิ้งในงานอุตสาหกรรม  วงจรอุปกรณ์ในยานยนต์ วงจรเครื่องมือแพทย์   มีราคาแพงกว่าแบบแรก ข้อมูลจากหลายแหล่งระบุว่าชนิดที่ 2 นี้เลิกผลิตไปแล้ว ( obsolete)

3)   อิเล็กทรอไลต์แบบโพลีเมอร์  (solid polymer aluminium electrolytic capacitor)  ใช้โพลีเมอร์ซึ่งมีสภาพเป็นอิเล็กทรอไลต์แบบของแข็ง    มีกระแสรั่วไหลต่ำ  มีความต้านทาน ESR ต่ำ
ทนกระแสริปปิ้ลได้สูง มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบบแรก       มีราคาแพงกว่าแบบแรก  ส่วนมาก C  แบบที่3 นี้ใช้ในวงจรแหล่งจ่ายไฟ


ตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลต์มีรูปทรงหลายแบบ เช่น    แนวตั้ง แนวนอน  แบบขายาว  ขาเขี้ยว  แบบ SMD
1) รูปทรงกระบอกแนวตั้ง
2) รูปทรงกระบอกแนวนอน
3) รูปทรงกระบอก ขาเขี้ยว
4) แบบ SMD
5) รูปทรงกระบอกตัวใหญ่ขามีน๊อต

ที่ตัวเก็บประจุจะมี Marking หรือข้อความระบุรายเอียดสเปคมีดังนี้
-   ชื่อรุ่นและชื่อผู้ผลิต รวมถึง Logo เครื่องหมายทางการค้า
-   ค่าความจุ
-   % ความคลาดเคลื่อน
-   พิกัดแรงดันใช้งานสูงสุดระบุเป็นไฟ DC หรือ  AC
-   พิกัดอุณหภูมิใช้งานและอุณหภูมิสภาพแวดล้อมที่ใช้ในการทดสอบสเปค
-   วันเดือนปีสัปดาห์ที่ผลิต


รูปแสดงขั้ว -   ของตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์
ขั้วลบจะขาสั้นและมีแถบสีขาวแสดงขั้ว  -
ส่วนขั้วบวก  คือ ขายาว

ตัวเก็บประจุ  ชนิดอิเล็กทรอไลต์   Aluminum electrolytic capacitor
Aluminum electrolytic capacitor


Aluminum electrolytic capacitor
ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์    Aluminum Electrolytic Capacitor 







ตัวเก็บประจุรูปทรงกระบอกแนวตั้ง


ตัวเก็บประจุ  คาปาซิเตอร์


ตัวเก็บประจุ  คาปาซิเตอร์  Aluminum Electrolytic Capacitor
                                ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์    Aluminum Electrolytic Capacitor



    ตัวเก็บประจุรูปทรงกระบอก 2 ขาสั้น หรือขาเขี้ยว

ตัวเก็บประจุ  คาปาซิเตอร์

ตัวเก็บประจุ  คาปาซิเตอร์   Capacitor

ตัวเก็บประจุ  คาปาซิเตอร์   Capacitor

ตัวเก็บประจุ  คาปาซิเตอร์   Capacitor

ตัวเก็บประจุ  คาปาซิเตอร์   Capacitor





ตัวเก็บประจุแบบ SMD และมีเคสเป็นโลหะ

ตัวเก็บประจุ  คาปาซิเตอร์   Capacitor

ตัวเก็บประจุ

ตัวเก็บประจุ

ตัวเก็บประจุ  คาปาซิเตอร์   Capacitor




ตัวเก็บประจุรูปทรงกระบอกแนวนอน  มีขาอยู่แกนกลาง
ตัวเก็บประจุแนวนอนแบบมีขั้ว  ที่ตัว C จะมีขั้ว + -  ระบุไว้


ตัวเก็บประจุ   คาปาซิเตอร์

ตัวเก็บประจุแนวนอนแบบไม่มีขั้ว ที่ตัว C จะเขียนว่า NP = No polarity
หรือ  Bi-polar
ตัวเก็บประจุ   คาปาซิเตอร์



   ตัวเก็บประจุรูปทรงกระบอกขาเขี้ยวและมีหลายขา

                ตัวเก็บประจุ   คาปาซิเตอร์                                    ตัวเก็บประจุ   คาปาซิเตอร์



ตัวเก็บประจุรูปทรงกระบอกตัวใหญ่ขามีน๊อต
ตัวเก็บประจุ   คาปาซิเตอร์   รูปทรงกระบอกตัวใหญ่ขามีน๊อต

ตัวเก็บประจุ   คาปาซิเตอร์   รูปทรงกระบอกตัวใหญ่ขามีน๊อต

ตัวเก็บประจุ   รูปทรงกระบอกตัวใหญ่


คุณสมบัติ ข้อดีข้อเสียของตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์มาตรฐาน (อิเล็กทรอไลต์แบบของเหลวหรือเปี่ยก )

ข้อดี
- ราคาไม่แพง
- มีค่าความจุและพิกัดแรงดันให้เลือกใช้งานหลายค่ามากในท้องตลาด
- มีรูปร่างหลายแบบให้เลือกใช้งาน
- ผลิตค่าความจุสูงได้   โครงสร้างมีความหนาแน่นของพลังงานต่อพื้นที่สูงกว่าตัวเก็บประจุแบบฟิล์มและแบบเซรามิค หมายถึงสามารถผลิตตัวเก็บประจุให้มีค่าความจุสูงได้ขณะที่ใช้พื้นที่ไม่มาก
- ทนพลังงานทรานเซี้ยนได้ดี

ข้อเสีย
- มีอายุใช้งานจำกัดเนื่องจากน้ำยาอิเล็กทรอไลต์อาจระเหยและแห้ง
- มีค่าความต้านทาน ESR และค่าความต้านทานไฟสลับ Z สูง ทีอุณหภูิมต่ำ
- มีความไวต่อแรงกดทางกล ถ้าถูกกดหรือทำให้บุปค่าความจุจะเปลี่ยนค่าและโครงสร้างข้างในตัวเก็บประจุก็จะเสียหายด้วย
-  การใช้งานต้องคำนึงและต่อให้ถูกขั้ว  ถ้าต่อผิดขั้วตัวเก็บประจุจะเสียหายและอาจระเบิด
 การรั่วของฉนวนไดอิเล็กทริกสูง   ความต้านทานและความเหนี่ยวนำภายในมีค่าสูงทำให้มีข้อจำกัดในการใช้งานกับความถี่สู
-  ความเสถียรต่ออุณหภูมิต่ำ  ค่าความคลาดเคลื่อนสูง  เมื่อไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานคุณภาพของน้ำยาที่ทำหน้าที่เป็นฉนวนจะลดลง


การใช้งานตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์ 
นิยมใช้งานหลักในวงจรแหล่งจ่ายไฟ วงจรกรองกระแสและเก็บพลังงาน
- วงจรฟิลเตอร์ในแหล่งจ่ายไฟ
- วงจรคับปลิ้งในเครื่องเสียง
- วงจร DC Link ใน Converter   , Drive  , UPS
- ใช้ในวงจรพื้นฐานทั่วไป
-  C  มอเตอร์สต๊าท  ( ใช้ตัวประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์ชนิดไม่มีขั้ว )