การอ่านค่า ตัวเหนี่ยวนำ ( อินดักเตอร์ )

ตัวเหนี่ยวนำ   อ่านค่าตัวเหนี่ยวนำ  อินดักเตอร์  Inductor
                                                              ตัวเหนี่ยวนำ


จากรูปจะเห็นว่าตัวเหนี่ยวนำมีทั้งแบบเปลือย แบบมีฉนวนหุ้ม  และ แบบมีรหัสสีบอกค่าความเหนี่ยวนำลักษณะคล้ายตัวต้านทาน    อาจต้องใช้การสังเกตว่าเป็น  L หรือ R   ในการซ่อมแบบมืออาชีพจะใช้  LCR Meter และ Smart Tweezer  ช่วยในการวิเคราะห์     เพียงเราเอามิเตอร์ไปคีบที่ขาอุปกรณ์เครื่องก็จะทำการวิเคราะห์พร้อมแจ้งว่าเป็น L หรือ C หรือ R พร้อมอ่านค่า ซึ่งอำนวยความสะดวกในงานซ่อมอย่างมาก  อย่างไรก็ตามเราจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องการอ่านค่ารหัสสีตัวเหนี่ยวนำด้วยซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานที่จำเป็น   การอ่านค่ารหัสสีตัวเหนี่ยวนำคล้ายกับตัวต้านทานเพราะรหัสสีใช้มาตรฐาน  EIA Color Code เหมือนตัว
ต้านทาน ลองพิจารณาตารางด้านล่างและลองอ่านค่าตัวเหนี่ยวนำจากรหัสสี




รูปแสดงลักษณะตัวเหนี่ยวนำซึ่งมีหลายแบบ
บางตัวไม่แสดงค่าความเหนี่ยวนำไว้เลย และบางตัวก็เขียนรหัสสั้นๆ

ตัวเหนี่ยวนำ    Inductor  code reading





ตัวเหนี่ยวนำ อินดักเตอร์   Inductor

ตัวเหนี่ยวนำ อินดักเตอร์   Inductor

ตัวเหนี่ยวนำ   อินดักเตอร์   Inductor



ตัวเหนี่ยวนำ อินดักเตอร์   Inductor code reading





ตารางรหัสสีค่าตัวเหนี่ยวนำ ตามมาตรฐาน   EIA Color Code

รหัสสีค่า ตัวเหนี่ยวนำ ตามมาตรฐาน   EIA Color Code


Inductor code reading


รูปแรกเป็นตัวเหนี่ยวนำซื้อมาเพื่อถ่ายรูป     ที่ถุงและ Datasheet เขียนสเปค  100mH     ±5%   20MA  420 OHM
ลองหัดอ่านค่าจากแถบสีโดยใช้ตารางด้านบน
น้ำตาล  ดำ    เหลือง   ทอง
10  x   1000  =  100000µH   แปลงหน่วยเป็น  mH   =   100mH  
สีทองเท่ากับมีค่าความคลาดเคลื่อน   ±5%
จากรูปจะสังเกตว่าแถบสีแรกจะอยู่ชิดขอบมากกว่าอีกข้างชัดเจน และสีเงินกับทองจะไม่ใช้เป็นแถบสีที่ 1  นั่นคือ สีเงินกับทองใช้บอกเฉพาะค่าความคลาดเคลื่อน



ตัวเหนี่ยวนำ  อินดักเตอร์  Inductor

รูปที่2   สเปคตาม Datasheet และที่ถุงตอนซื้อมาเขียนไว้  10UH ±10%   500MA 650 MOHM
ลองหัดอ่านค่าจากแถบสีโดยใช้ตารางด้านบน
น้ำตาล  ดำ   ดำ    เงิน
10 x1  =  10µH 
สีเงินเท่ากับมีค่าความคลาดเคลื่อน   ±10%
จากรูปจะสังเกตว่าแถบสีแรกจะอยู่ชิดขอบมากกว่าอีกข้างชัดเจน และสีเงินกับสีทองจะไม่ใช้เป็นแถบสีที่ 1  นั่นคือ สีเงินกับทองใช้บอกเฉพาะค่าความคลาดเคลื่อน



ตัวเหนี่ยวนำ   Inductor code reading



รูปที่3 สเปคตาม Datasheet และทีถุงตอนซื้อมาเขียนไว้  15UH    ±10%   610MA 600 MOHM
ลองหัดอ่านค่าจากแถบสีโดยใช้ตารางด้านบน
น้ำตาล  เขียว   ดำ    เงิน
15 x1  =  15µH 
สีเงินเท่ากับมีค่าความคลาดเคลื่อน   ±10%
จากรูปจะสังเกตว่าสีเงินกับทองจะไม่ใช้เป็นแถบสีที่ 1  นั่นคือ สีเงินกับทองใช้บอกเฉพาะค่าความคลาดเคลื่อน