ปลั๊กไฟ ป้องกันฟ้าผ่า
ปลั๊กไฟใช้ต่อพ่วงอุปกรณ์ไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดที่ 1 ใช้ฟิวส์ป้องกันกระแสไฟเกิน และ ชนิดที่ 2 ใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ป้องกันกระแสไฟเกิน หรือ Overload Protection ปลั๊กไฟราคาแพงประมาณ 400-600 บาท จะมีความสามารถป้องกันไฟแรงดันสูงจากฟ้าผ่า หรือ Surge Protection ซึ่งเขียนระบุไว้ที่กล่องสินค้า ปลั๊กไฟคุณภาพนอกจากจะดูที่ยี่ห้อที่น่าเชือถือแล้ว สามารถสังเกตได้จากวัสดุที่ใช้ทำโครงของปลั๊ก ดูคุณภาพของสายไฟและดูรางตัวนำข้างในจะดูแน่นหนาและแตกต่างจากปลั๊กไฟราคาถูก เมื่อใช้งานเสียบเข้าเสียบออกอายุการใช้งานจะยาวนานกว่า คุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป ไฟกระชากมีโอกาสเกิดทุกช่วงของปีและแรงดันเสิร์จจากฟ้าผ่าเกิดในช่วงหน้าฝน อย่าปล่อยให้เครื่องเสียง TV คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ราคาแพงต้องเสี่ยงกับไฟกระชาก แรงดันเสิร์จจากฟ้าผ่า หาปลั๊กไฟคุณภาพดีมาช่วยป้องไฟกระชากและแรงดันเสิร์จจากฟ้าผ่า ก่อนที่อุปกรณ์จะเสียหายจากไฟกระชากและแรงดันเสิร์จจากฟ้าผ่า
ปลั๊กไฟราคาประมาณ 400-600 บาท ที่เขียนสเปคว่าป้องไฟกระชากและแรงดันเสิร์จจากฟ้าผ่าได้แกะดูข้างใน พบรางไฟต่อกันแน่นหนา
ข้างในมีเซอร์กิตเบรคเกอร์และวารีสเตอร์ สังเกตดูคุณภาพวัสดุตัวนำกระแสไฟตามรูปด้านล่าง
เซอร์กิตเบรคเกอร์ของปลั๊กไฟ
ใต้เซอร์กิตเบรคเกอร์พบวารีสเตอร์ เบอร์ 14D471K ขนาดโต 14mm สเปค 4.5KA 125J Max. Continuous Voltage 300Vrms แรงดันวารีส Varistor Voltage (Min) 423V Varistor Voltage (Typ) 470V Varistor Voltage (Max) 517V ดู Datasheet ด้านล่างสุดประกอบ ขาวารีสเตอร์หุ้มปิดอย่างดีและการเชื่อมต่อดีมาก คุณภาพสมกับราคาสินค้า
วารีสเตอร์ ของปลั๊กไฟป้องกันฟ้าผ่า
ลองวัดจุดต่อของวาริสเตอร์ขาแรกต่อกับสายมีไฟหรือสายไลน์ ( L ) และอีกขาของวาริสเตอร์ต่อกับ
สายนิวทรอล ( N ) แนะนำให้ซื้อปลักไฟสำเร็จรูปเพราะเป็นปลั๊กที่มีการประกอบดี มีมาตรฐาน มอก. ผ่านการออกแบบและทดสอบจากเครื่องมือวัดที่เชื่อถือได้ คำแนะนำทั่วไปคือห้ามใช้ปลั๊กไฟจนเต็มพิกัดโหลดเกินวัตต์เกินกระแสสูงสุดของปลั๊ก
เผื่อช่างศึกษาการทำงานของวาริสเตอร์และเอาไปออกแบบวงจรอื่นๆ ด้านล่างเป็นสเปคและรุ่นของวารีสเตอร์ที่มีขายที่บ้านหม้อ CNR07D 7mm CNR10D 10mm CNR14D 14mm CNR20D 20mm และตามด้วยตัวเลขต่อหลังเบอร์เป็นไฟ วารีสโวลเตจ
รุ่นและแรงดันของวาริสเตอร์ ขนาด 7mm และ 10mm