สเปค คอนเนกเตอร์ ขั้วต่อ เบื้องต้น สำหรับช่างมือใหม่ แจ๊ค ปลั๊ก

แจ๊ค  ปลั๊ก  คอนเนกเตอร์   ขั้วต่อ


คอนเนกเตอร์ใช้เชื่อมต่อวงจร  เพื่อความสะดวกในการตัดต่อและการเช็ควงจรด้วย   ในงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติจะใช้คอนเนกเตอร์หลายแบบ   คอนเนกเตอร์ตามรูปด้านล่างมีลักษณะกลมเรียกว่า Circular Connector  เป็นคอนเนกเตอร์ที่นิยมใช้งานมาก    มีสเปคพื้นฐานที่ต้องทราบดังนี้

1. ลักษณะคอนเนกเตอร์  แบ่งออกเป็นปลั๊ก ( Plug )  และ เต้ารับ ( Receptacle )  ลักษณะของปลั๊กคือมีการเสียบเข้าเสียบออกมีการเคลื่อนที่     ส่วนเต้ารับจะมีลักษณะยึดอยู่กับที่ หรือ ยึดอยู่ที่เครื่อง


คอนเนกเตอร์  ขั้วต่อ       แจ๊ค  ปลั๊ก
                                       ปลั๊ก    ลักษณะของปลัักคือเสียบเข้า / ถอดออก


คอนเนกเตอร์   ขั้วต่อ      แจ๊ค  ปลั๊ก
                                        เต้ารับสี่เหลี่ยม   ลักษณะเต้ารับคือยึดอยู่ที่เครื่อง


คอนเนกเตอร์   ขั้วต่อ    แจ๊ค  ปลั๊ก
                                               เต้ารับกลม     ลักษณะเต้ารับคือยึดอยู่ที่เครื่อง


2  . ลักษณะคอนเแทค   แบ่งออกเป็น   ตัวผู้   และ ตัวเมีย   ตัวผู้ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Pin Contact    ตัวเมียภาษาอังกฤษใช้คำว่า  Socket   Contact     จำนวนคอนแทคมีตั้งแต่ 1 โพล( ขั้ว)  2 ขั้ว    3 ขั้ว   5 ขั้ว  10 ขั้ว  15 ขั้ว   20  ขั้ว และ จำนวนอื่นๆ  ปลั๊กอาจจะมีคอนแทคเป็นตัวผู้ หรือตัวเมียก็ได้   เช่นเดียวกันเต้ารับอาจจะคอนแทคเป็นตัวผู้หรือตัวเมียก็ได้
  ถ้าปลั๊กมีคอนแทคเป็นตัวผู้แล้วเต้ารับต้องมีคอนแทคเป็นตัวเมียจึงจะเสียบเข้าด้วยกันได้   ถ้าปลั๊กมีคอนแทคเป็นเมียแล้วอีกฝั่งหรือเต้ารับต้องมีคอนแทคเป็นตัวผู้จึงจะเสียบเข้าด้วยกันได้

ปลััก มี Contact ตัวผู้   (  Pin Contact )
                                                   ปลััก มี Contact ตัวผู้   (  Pin Contact )


ปลััก มี Contact ตัวเมีย  (  Socket  Contact  )
                                               ปลััก มี Contact ตัวเมีย  (  Socket  Contact  )


เต้ารับ  มี  Contact  ตัวเมีย  ( Socket Contact  )
                            เต้ารับมี Contact  ตัวเมีย  ( Socket Contact  )
                            ต้องใช้ร่วมกับ Plug ที่มี Contact  ตัวผู้  ( Pin Contact )


แจ๊ค  ปลั๊ก  คอนเนกเตอร์   ขั้วต่อ
           ขั้วต้องต่างกันจึงจะเสียบเข้ากันได้    ตามรูปนี้เสียบด้วยกันได้
           เพราะตัวแรกเป็น Pin Contact  และตัวที่สองเป็น  Socket  Contact 


3.   ลักษณะการต่อ  แบ่งออกเป็น
      3.1  ต่อลอย  ( Line to Line ) เป็นลักษณะการต่อสายไฟเข้ากับสายไฟ 
      3.2  ต่อสายกับเต้ารับซึ่งเต้ารับยึดอยู่ที่เครื่อง


แจ๊ค  ปลั๊ก  คอนเนกเตอร์   ขั้วต่อ
                                          ต่อลอย  ( Line to Line )   ต่อสายไฟเข้ากับสายไฟ  



Connector  Pin  Contact    Socket  Contact  Line to Line type
ต่อลอย  ( Line to Line )   ต่อสายไฟเข้ากับสายไฟ


แจ๊ค  ปลั๊ก  คอนเนกเตอร์   ขั้วต่อ
                                          ต่อสายเข้ากับเต้ารับ  ( เต้ารับที่เครื่องหรือบอร์ด )


แจ๊ค  ปลั๊ก  คอนเนกเตอร์   ขั้วต่อ
                                              ต่อสายเข้ากับเต้ารับ  ( เต้ารับที่เครื่องหรือบอร์ด )


4.  การเชื่อม   แบ่งออกเป็น   4.1   แบบบัดกรี  (Solder Type)   ดูรูปด้านล่างที่ตัวคอนเนกเตอร์จะมีร่องเป็นจุดรับการบัดกรี      4.2  แบบย้ำ ( Crimp  Type)  ต้องใช้คีมย้ำเพื่อย้ำสายไฟเข้ากับ Contact ของคอนเนกเตอร์

แจ๊ค  ปลั๊ก  คอนเนกเตอร์   ขั้วต่อ
                                                  Connector   แบบบัดกรี   ( Solder Type )