ขนาดตัวเก็บประจุ SMD และ วิธีหาขนาดตัวเก็บประจุ SMD อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน

ตัวเก็บประจุ  คาปาวิเตอร์   ຕົວເກັບປະຈຸ
   ขนาดตัวเก็บประจุ SMD


ขนาดตัวประจุ SMD  ที่เราจะกล่าวถึงในที่นี้เป็นตัวเก็บประจุุชนิดเซรามิค เพราะถ้าเป็นขนาดของตัวประจุ SMD ชนิดแทนทาลัม  จะมีวิธีการระบุขนาด Case Size อีกแบบและแตกต่างกัน      จะใช้ตารางขนาดตัวประจุ SMD ชนิดเซรามิคของ  Yageo  เป็นตัวอย่าง  สำหรับผู้ผลิตรายอื่นถ้าใช้ Case Size  เหมือนกันขนาดก็จะเท่ากัน อาจจะแตกต่างกันในระดับทศนิยม    ± mm


ขนาดตัวเก็บประจุ SMD ชนิดเซรามิค

รูปตัวต้านทาน SMD ขนาดตัวต้านทาน SMD และ วิธีหาขนาดตัวต้านทาน SMD

ตัวต้านทาน   SMD   Resistor
    SMD Resistor


ตัวต้านทาน SMD เรียกอีกชื่อว่า Chip Resistor  ที่ตัวต้านทานจะมีรหัสตัวเลขบอกค่าความต้านทาน แต่ไม่มีขนาดระบุไว้   จะทราบขนาดตัวต้านทานต้องใช้การวัดขนาดแล้วเทียบในตารางของผู้ผลิต
ขนาดตัวตานทาน SMD จะมีมาตรฐานควบคุมดังนั้นผู้ผลิตแต่ละรายถ้าใช้ชื่อ Case Size เหมือนกัน ขนาดตัวต้านทานก็จะเท่ากัน  อาจจะแตกต่างกันระดับทศนิยม 2 หลัก  เช่น ±0.02   , ±0.10
จะใช้ตารางของ  Yageo  ซึ่งเป็นผู้ผลิตตัวต้านทานชั้นนำของโลกเป็นตัวอย่าง


(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)



ขนาดตัวต้านทาน  SMD


ตาราง  ขนาดตัวต้านทาน SMD
                                                                     ขนาดตัวต้านทาน SMD


วิธีหาขนาดตัวต้านทาน  SMD
จากรูปด้านล่างเป็นตัวต้านทานไม่ทราบขนาด ทำการวัดขนาดความยาวได้  2.8mm

ตัวต้านทาน โครงข่ายและอาร์เรย์ ( Resistor Networks and Arrays )

ตัวต้านทาน   Resistor   ຕົວຕ້ານທານ



ตัวต้านทานโครงข่ายและอาร์เรย์เป็นชุดของตัวต้านทานคือข้างในมีตัวต้านทานหลายตัวอาจมี  2 , 3 , 4 ,5 ,  6  ,7 ,8 ,  9 , 10 ตัว หรือมากกว่า เป็นต้น ตัวต้านทานข้างในเหล่านี้วางเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ
อาจเชื่อมต่อกันเป็นวงจรตัวต้านทานตามแบบที่ต้องการ   ถ้าเชื่อมต่อกันเรียก  Bussed  Circuit    ถ้าตัวทานไม่เชื่อมต่อกันเรียกว่า  Isolated  Circuit  วงจรข้างในมีหลายแบบขึ้นอยู่กับรุ่นของตัวต้านทานจะเป็นตัวกำหนดสเปค   สิ่งที่ต้องพิจารณาคือมีจำนวนตัวต้านทานข้างในกี่ตัว     ตำเหน่งขาของตัวตัวต้านทาน    ลักษณะวงจรข้างในของตัวต้านทาน   ขนาดความกว้างความยาวของตัวต้านทาน  ถ้าสเปคไม่เหมือนกันก็ใช้แทนกันไม่ได้     เนื่องจากเป็นชุดตัวต้านทานสำเร็จรูปทำให้สะดวกในการนำไปใช้งานหรือออกแบบวงจร  ตัวต้านทานข้างในมีหลายตัวขณะที่ใช้พื้นที่น้อยทำให้ประหยัดพื้นที่บนแผงวงจร PCB     รูปร่างของตัวต้านทานมีทั้งแบบ SMD ซึ่งระบุรหัสค่าความต้านทานแบบตัวต้านทาน SMD       แบบมีขาสองข้างเหมือน IC หรือ DIP    แบบขาเรียง 1 แถวหรือ SIP ( Single inline package )   ถ้าตัวต้านทานมีขนาดใหญ่จะบุชื่อรุ่นและผู้ผลิตไว้ที่ตัวต้านทานเลยทำให้่ง่ายในการหารุ่นทดแทน  ตัวทานชนิดนี้นิยมใช้งานในวงจรอิเล็กทรอนิกส์    เช่น  Voltage Divider , Signal conditioning ,  R/2R Ladder Network ,   Data communication  , Networking , Pull-up/Pull-Down Logic gate , portable test equipment   เป็นต้น ลองสังเกตรูปร่างของตัวต้านทานและลักษณะวงจรข้างในตามด้านล่าง  


(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)


ตัวต้านทานโครงข่ายชนิด   Isolated  Circuit
ไม่ได้เชื่อมต่อถึงกันหรือแยกกัน

ตัวต้านทานโครงข่ายชนิด   Bussed  Circuit
( เชื่อมต่อถึงกัน)


วงจรภายในของตัวต้านทานโครงข่ายมีหลายแบบต้องดูจาก Datasheet ผู้ผลิต
ยกตัวอย่างมาให้ดู 1 แบบ

ตัวต้านทานโครงข่ายแบบ SMD

ตัวต้านทาน
                                             ตัวต้านทานโครงข่ายแบบ SMD



รูปตัวต้านทานชนิดฟิล์มออกไซด์ของโลหะ ( Metal Oxide Film Resistor ) ตัวต้านทานทนความร้อน

ตัวต้านทานทนความร้อน    ตัวต้านทาน  ชนิดฟิล์มออกไซด์ของโลหะ  Metal Oxide Film Resistor



ตัวต้านทานชนิดฟิล์มออกไซด์ของโลหะผลิตจากฟิล์มออกไซด์ของโลหะทำเป็นเกลียวฝากไว้บนแกนเซรามิค ด้านนอกหุ้มปิดและมีรหัสสีบอกค่าความต้านทานและค่าความคลาดเคลื่อน  ตรงปลายมีฝาเอาไว้ต่อกับขาตัวนำออกไปใช้งาน   ตัวต้านทานชนิดนี้มีความเสถียรสูงและเสถียรในระยะยาว  ( Long  term Stability and High stability  )   มีคุณสมบัติที่เชื่อถือได้ในระยะยาว ( High Reliability )  ย่านความต้านทานที่ผลิตได้มีตั้งแต่ค่าน้อยกว่า 1 โอห์มจนถึงค่า Mega โอห์ม  ขนาดวัตต์ตั้งแต่  1/4W  จนถึง  5W   มีค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิต่ำ  ( Low  temperature coefficient )     ค่าความคลาดเคลื่อน  ±1%   ±2%   ±5%  ±10% ตัวต้านทานชนิดฟิล์มออกไซด์ของโลหะบางรุ่นมีการพัฒนาปรับปรุงสเปคให้มีคุณสมบัติพิเศษดีกว่ารุ่นมาตรฐาน ( Special Purpose )  เช่น  ทนแรงดันสูงได้และมีคุณสมบัติค่าสัมประสิทธ์แรงดันต่ำ  ( Low voltage coefficient) สเปคพิเศษมีค่าความต้านทานที่ผลิตได้ตั้งแต่ค่าโอห์มต่ำจนถึง Giga โอห์ม 

ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ ( Metal Film Resistor) ตัวต้านทานคงที่ ค่าคงที่


ตัวต้านทาน    ฟิล์มโลหะ   Metal  Film  Resistor


ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู
ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะผลิตจากฟิล์มโลหะ (Metal Alloy Film )ฝากไว้บนแกนเซรามิค ฟิล์มถูกตัดเป็นเกลียวรอบแกนเซรามิค    รูปด้านล่างแสดงโครงสร้างข้างในตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ    ตรงปลายสองข้างมีฝาและ ขาตัวนำต่อออกใช้งาน ด้านนอกสุดเคลือบด้วยแลคเกอร์สีน้ำเงินอ่อน ( Light-Blue ) บางครั้งอาจเป็นสีฟ้า  มีค่าความต้านทานให้เลือกใช้งาน ( Resistance Range )  1 ohm จนถึงค่า Mega ohm  มีวัตต์ให้เลือกใช้งาน  1/8W  1/4W  1/2W    1W  2W    3W  4W    ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะมีค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิต่ำจึงมีสเปคที่ดี ( ค่ายิ่งต่ำยิ่งดี)  ค่าความคลาดเคลื่อนมีหลายสเปคให้เลือกคือ   ±0.5%  ±1% ±2%  ±5%   ยิ่งค่าความคลาดเคลื่อนต่ำจะมีราคาแพงขึ้น   ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะมีความเสถึยรดีกว่าตัวต้านทานชนิดคาร์บอนอย่างมาก

ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์ม ( Film Capacitor ) คาปาซิเตอร์ ชนิดฟิล์ม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น



ตัวเก็บประจุ  ຕົວເກັບປະຈຸ
ตัวเก็บประจุ   ชนิดฟิล์ม 


ตัวเก็บประจุ   คาปาซิเตอร์
                                                 ตัวเก็บประจุ   คาปาซิเตอร์  ชนิดต่างๆ
ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์ม บางครั้งเรียกว่าตัวเก็บประจุชนิดฟิล์มพลาสติก  (plastic film capacitor )  ใช้ฟิล์มพลาสติกบาง (dielectric film)ทำหน้าที่เป็นฉนวนไดอิเล็กตริกขั้นกลางระหว่างตัวนำของตัวเก็บประจุ   ม้วนเป็นรูปทรงกระบอก มีขาตัวนำต่อออกใช้งาน จากนั้นขึ้นรูปเป็นโครง    ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์มมีหลายชนิดย่อยโดยแบ่งตามชนิดของวัสดุที่ใช้ทำฉนวนข้างใน (Dielectric) แต่เรียกชื่อรวมๆว่าตัวเก็บประจุชนิดฟิล์ม   มีชื่อนำหน้าด้วยคำว่า  “ โพลี “ ( poly)   ตัวอย่างชื่อ  เช่น   เมตัลไลซ์โพลีโพรไพลีน   เมตัลไลซ์โพลีเอสเตอร์    โพลีโพรไพลีน   PP (Polypropylene)  โพลีสไตรีน   (Polystyrene )  โพลีเอสเตอร์   ( Polyester, PET film)  เนื่องจากใช้ฟิล์มพลาสติกทำให้สามารถผลิตให้เที่ยงตรง มีการสูญเสียต่ำ  คุณสมบัติเสถียรตลอดอายุการใช้งานและอัตราการเสียน้อย ราคาถูกลง  ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์มจะไม่มีขั้วและนิยมใช้กับวงจรไฟ AC อย่างมาก  เช่น  วงจรระบบแสงสว่าง  วงจรมอเตอร์ ( Motor Start และ Motor Run )  วงจรแก้พาวเวอร์เฟคเตอร์  วงจรพาวเวอร์ซัพพลาย  วงจรกรองสัญญาณรบกวนออกจากไฟ AC ( EMI Suppression )  วงจรพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์   วงจรสนับเบอร์ ( Snubber Circuit)  วงจร DC-DC คอนเวอร์เตอร์  วงจรครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์คในระบบเสียง  วงจรฟิลเตอร์  และอื่นๆอีกมาก   ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์มแบบเสถียรมากและสูญเสียน้อยจะมีราคาแพงกว่าแบบเสถียรปานกลาง(ซึ่งจะราคาถูกลง) คือมีหลายเกรด

สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆโดยแบ่งตามโครงสร้างข้างในที่ใช้ทำฉนวน

1) ตัวเก็บประจุแบบฟิล์ม (Film/foil capacitor)  ใช้ฟิล์มพลาสติก  2 แผ่นทำหน้าที่เป็นฉนวน  และใช้ฟอยด์โลหะทำหน้าที่เป็นอิเล็กโทรดทำให้ง่ายในการเชื่อมต่อทางไฟฟ้ากับขั้วอิเล็กโทรด ประโยชน์ที่ได้คือตัวเก็บประจุแบบนี้ทนกระแสเสิร์จได้สูง
2)   ตัวเก็บประจุแบบฟิล์มเมตัลไลซ์  (Metallized film capacitor)  ใช้ฟิล์มเมตัลไลซ์กับพลาสติกฟิล์ม

ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า คาปาซิเตอร์ชนิด ไมก้า Mica Capacitor


ตัวเก็บประจุ  คาปาซิเตอร์   ຕົວເກັບປະຈຸ


ตัวเก็บประจุชนิดไมก้ามีฉนวนไดอิเล็กทริคทำจากไมก้า  ไมก้าเป็นกลุ่มแร่ธรรมชาติและแร่ไมก้ามีคุณสมบัติทางไฟฟ้า เคมี และทางกลที่เสถียร   เนื่องจากโครงสร้างผลึกคริสตอลที่มีลักษณะเฉพาะเรียงเป็นชั้นจึงสามารถทำให้เป็นแผ่นบางๆได้พร้อมทั้งได้คุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ดีขึ้น ทนอุณหภูมิได้สูง ไมก้าไม่ทำปฏิกิริยากับกรดส่วนใหญ่  น้ำ น้ำมันและสารละลาย ตัวเก็บประจุชนิดไมก้าที่ผลิตใช้งานอยูในปัจจุบันเรียกว่า   Silver Mica

ตัวเก็บประจุ ชนิดไมล่าร์ คาปาซิเตอร์ ชนิดไมล่าร์ Mylar Capacitor อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น


ตัวเก็บประจุ  คาปาซิเตอร์   Capacitor


ตัวเก็บประจุชนิดไมล่าร์  มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์มโพลีเอสเตอร์  ( Polyester Film  capacitor , (PET))  เป็นตัวเก็บประจุไม่มีขั้วเช่นเดียวกับตัวเก็บประจุชนิดเซรามิค   ข้างนอกหุ้มปิดด้วยอีพ๊อกซี่แข็งซึ่งช่วยทำให้ทนความร้อนได้ดีมากอาจทนความร้อนได้ถึง 125°C   พร้อมทั้งกันความชื้นและป้องกันตัวเก็บประจุจากสิ่งแวดล้อมภายนอกด้วย     มันมีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณะเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเก็บประจุชนิดเซรามิคและอิเล็กโทรไลต์คือทนแรงดันได้สูงขณะที่มีขนาดเล็กทำให้ตัวเก็บประจุมีน้ำหนักน้อย  คุณสมบัติที่สำคัญอีกข้อคือมีค่า ESR ต่ำ ( Equivalent series resistance ) ทำให้สามารถใช้งานกับวงจรความถี่สูงได้    ค่าความต้านทาน ESR ต่ำหมายถึงมีการสูญเสียต่ำ

โซลิดสเตต รีเลย์ 3 แบบที่นิยมใช้งาน ( Solid State Relay )


รีเลย์  SSR  Relay   Solid  State Relay

มารู้จัก  โซลิดสเตตรีเลย์ 3 แบบที่นิยมใช้งาน  รวมถึงโซลิดสเตตรีเลย์แบบมอดูลที่ทนกระแสได้สูง  และแบบ  3  เฟสสำหรับงานไฟ  3  เฟส       โซลิดสเตตรีเลย์ใช้ทำโปรเจคได้หลายอย่างเลือกใช้งานได้ตามด้านล่างนี้  งานไฟ DC   งานไฟ AC  งานแอมป์สูง และ  งานไฟ 3 เฟส


โซลิดสเตตรีเลย์ 3 แบบที่นิยมใช้งานมีดังนี้

เปรียบเทียบวัตต์ของ หลอดประหยัดไฟ กับ หลอดไส้

เปรียบเทียบวัตต์ของ หลอดประหยัดไฟ กับ หลอดไส้   ໄຟຟ້າ
                                   หลอดประหยัดไฟ กับ หลอดไส้


ปัจจุบันหลอดประหยัดไฟได้รับความนิยมเนื่องจากราคาไม่แพงแล้ว  มีการผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากราคาจึงถูกลง  เรื่องน่ารู้สำหรับหลอดไฟมีดังนี้


กำลังวัตต์ที่ใช้เพื่อให้ได้แสงสว่างที่เท่ากัน
หลอดประหยัดไฟ        =      หลอดไส้กี่หลอด      ?

เรื่องน่ารู้ วิธีต่อ หลอดไฟไล่ยุง ไล่แมลง ป้องกันไข้เลือดออก


วิธีต่อ หลอดไฟไล่ยุง ไล่แมลง ป้องกันไข้เลือดออก
null
หลอดไฟกันยุง  เราแนะนำให้ใช้เพราะเป็นวิธีการไล่ยุงที่ไม่ทำร้ายสัตว์เป็นเพียงการไล่ให้ยุงหนี   ช่วยป้องกันโรคไข้เลือดออก และป้องกันไม่ให้ยุงกัดสัตว์เลีั้ยงเป็นการดูแลสุขภาพของสัตว์  หลอดกลมมีขนาดกะทัดรัดติดตั้งง่าย  จากการสำรวจตลาดพบขนาดวัตต์ที่มีจำหน่าย  5W   8W  10W  และ  15W
ราคาอยู่ในช่วง 200-300 บาท  เกลียวของหลอดไฟเป็น E27  ถ้ามีขั้วหลอด E27 อยู่แล้วก็สามารถหมุนติดตั้งเพื่อต่อใช้งานได้เลย  จะซื้อขั้วหลอดเกลี่ยว E27 เพิ่มก็มีขาย มีความยาวสายหลายแบบให้เลือก
กรณีความยาวสายยาวไม่พอก็สามารถซื้อสายที่เป็นม้วนยาวๆต่อเองได้

เรื่องน่ารู้ หางปลากลม หางปลาแฉก หางปลาเสียบ ใช้ต่อสายไฟ

หางปลากลม   หางปลาแฉก หางปลาเสียบ  ใช้ต่อสายไฟ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อสายไฟได้แก่ หางปลา  คอนเนกเตอร์ และ ท่อหด  หางปลานิยมใช้ในงานเชื่อมต่อสายไฟงานไฟฟ้า  งานอิเล็กทรอนิกส์ก็มีใช้    รีเลย์  สวิตช์ที่มีกระแสไฟหลายแอมป์ใช้หางปลาเชื่อมต่อสายไฟเป็นทางเลือกที่ดี  เพราะหางปลาให้การเชื่อมต่อที่แน่นและปลอดภัยเพียงพอ และสะดวกในการใช้งานเนื่องจากมีหลายแบบและขนาดต่างๆให้เลือกใช้   ช่างมืออาชีพควรมีหางปลาไว้ประจำร้าน  เมื่อต้องการใช้ก็หยิบมาใช้ได้ทันที่ ที่สำคัญหางปลาราคาไม่แพง มีขายเป็นถุง

ประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มในการใช้หางปลามีดังนี้

เรื่องน่ารู้ สีของหลอดไฟ แบบต่างๆ Warm White Day Light Cool White สีขาวนวล

สีของหลอดไฟ แบบต่างๆ   Warm White  Day Light   Cool White   สีขาวนวล   ໄຟຟ້າ

หลอดไฟในบ้านเสียและเวลาไปซื้อหลอดไฟจะมีสีต่างๆให้เลือก    บางคนก็เลือกไม่ถูก   เราได้ซื้อหลอดไฟ  4  สีมาลองต่อให้ดูเพื่อเป็นตัวอย่าง  ดูภาพจะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น   เพราะเวลาอ่านข้อความถ้าไม่มีภาพประกอบบางครั้งก็ไม่เห็นภาพอยู่ดี    ดูรูปตามด้านล่างประกอบจะช่วยให้ไม่ซื้อหลอดไฟผิดสี
คำศัพท์สีของหลอดไฟที่พบบ่อยมีดังนี้

เรื่องน่ารู้ สเปค เทอร์โมฟิวส์ พัดลม กระติกน้ำร้อน (Thermal Fuse)

เทอร์โมฟิวส์



เทอร์โมฟิวส์ใช้ป้องกันไฟไหม้จากความร้อนเกินที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า     เทอร์โมฟิวส์ถูกนำใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านหลายอย่าง    เช่น   พัดลม   หม้อหุงข้าวไฟฟ้า   กระติกน้ำร้อน     ฮีทเตอร์ไฟฟ้า  กระทะ  เตารีด  ไดร์เป่าผม  เครื่องปรับอากาศ   ตู้เย็น  เตาปิ้ง  เครื่องชงกาแฟ  เครืองชาร์จแบตเตอรี่ และ   อื่นๆ   ภาษาไทยเรียก  เทอร์โมฟิวส์  ส่วนภาษาอังกฤษใช้คำว่า  Thermal Cutoffs  ใช้คำย่อว่า TCO     เทอร์โมฟิวส์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้ครั้งเดียวคือถ้ามันทำงานแล้วไม่สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่     แล้วมันแตกต่างจากฟิวส์อย่างไร  ?      ฟิวส์ที่เรารู้จักและคุ้นเคยกันมีชื่อเต็มว่า Current Fuse  ระบุสเปคเป็นแอมป์   เช่น 1A  5A  10A  เป็นต้น ฟิวส์แบบนี้จะทำงานเมื่อเกิดกระแสเกินในวงจรและมีกระแสไหลมากเกินพิกัดของฟิวส์และชิ้นส่วนฟิวส์ข้างในก็จะหลอมละลายเพื่อตัดวงจรหรือเปิดวงจรไฟฟ้า ( กระแสเกินเกิดจากโอเวอร์โหลดและกระแสลัดวงจร)    ส่วนเทอร์โมฟิวส์จะทำงานหรือตัดวงจรเมื่อมีอุณหภูมิแวดล้อมเพิ่มสูงถึงอุณหภูมิทำงานของเทอร์โมฟิวส์ ( Rated Functioning Temperature )

เครื่อง วัดตัวเก็บประจุ วัดตัวต้านทาน วัดตัวเหนี่ยวนำ และอื่นๆ พิสูจน์ความสามารถเครื่องราคาถูกนี้

วัดตัวเก็บประจุ  วัดตัวต้านทาน วัดตัวเหนี่ยวนำ และอื่นๆ


กำลังมองหา RLC มิเตอร์แต่ไปเจอเครื่องตรวจเช็คอุปกรณ์ตัวนี้ด้วย   คุณสมบัติเครื่องบอกว่าสามารถวัด    R   L   C   Diode     Zener  Diode   Transistor  Mosfet    Fet  SCR  Triac  จะเห็นว่าค่อนข้างครอบคลุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เราเจอในงานซ่อมเลยที่เดียว   เป็น Item ที่ช่างต้องมี  เห็นราคากับความสามารถที่บอกไว้  ตอนแรกคิดว่าจริงหรือ   ?    นั้นเป็นเพียงความคิดเห็น   เลยมาวัดเทียบพิสูจน์กับเครื่องมือวัดราคาหลายพันและพิสูจน์กับอุปกรณ์ที่เรารู้ชนิดรู้เบอร์รู้ตำเหน่งขาแน่ๆ

1.  ทดลองวัดตัวต้านทานค่า 100 ohm  ชนิดเมตัลฟิล์ม
     ค่าที่วัดได้ถือว่า OK  เมื่อเทียบกับ RLC มิเตอร์

วัดตัวต้านทาน

วัดตัวต้านทาน



2.  ทดลองวัดตัวต้านทานค่า 100 ohm  ชนิดคาร์บอนฟิล์ม
    ค่าที่วัดได้ถือว่า OK  เมื่อเทียบกับ RLC มิเตอร์

ผ่า ตัวเก็บประจุ รูปจริง แผ่นเพลต และ ไดอิเล็กตริกของตัวเก็บประจุ อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

คาปาซิเตอร์   ตัวเก็บประจุ    Capacitor
คาปาซิเตอร์   ตัวเก็บประจุ    Capacitor


คนที่เคยเรียนสาขาไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์  และ ฟิสิกส์จะได้เรียนเรื่องประจุไฟฟ้าและตัวเก็บประจุ โครงสร้างพื้นฐานของตัวเก็บประจุมี 2 แผ่นเพลตและตรงกลางคั่นด้วยไดอิเล็กตริก เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจเรื่องตัวเก็บประจุได้มากขึ้น  จะนำรูปแผ่นเพลตและไดอิเล็กตริกของตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์ของจริงมาให้ดูเป็นตัวอย่าง  ข้างนอกหุ้มด้วย  PCV  ที่ใช้พิมพ์ค่าความจุและแรงดัน   แกะปลอก PVC ออกจะพบปลอกอะลูมิเนียมรูปทรงกระบอก  มีจุกยางเพื่อกันชิ้นส่วนข้างในเคลื่อน ตรงบริเวณจุกยางจะมีขนาดเล็กกว่าจุดอื่นๆเป็นการล๊อคชิ้นส่วนของให้ไม่ได้เคลื่อนได้

การอ่านค่าตัวเหนี่ยวนำ 5 แถบสี การอ่านค่า L ตอนที่ 3 อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน

ตัวเหนี่ยวนำ อ่านค่าตัวเหนี่ยวนำ  Inductor reading


 L    5  แถบสี   เป็น  L  ที่มีรหัสสีตามมาตรฐาน   MIL-STD Color Code  แถบสีแรกจะเป็นสีเงินและมีขนาดความกว้างของแถบกว้างเป็น 2 เท่าของแถบสีอื่นๆ   แถบสีแรกนี้เป็นตัวบอกว่าเป็น L ตาม  มาตรฐาน   MIL-STD ไม่ได้นำมาใช้คำนวณค่าของ L    แถบสีที่เป็นรหัสค่าของ L เป็น 4 แถบสีที่เหลือ
วิธีการอ่านค่าก็จะเหมือนกับการอ่านค่า L แบบ  4 แถบสีคือ   แถบสีที่ 2  และแถบสีที่ 3 เป็นตัวตั้ง   แถบสีที่ 4     เป็นตัวคูณ   แถบสีที่ 5  เป็น % คาดเคลื่อน

        
ตัวเหนี่ยวนำ อ่านค่าตัวเหนี่ยวนำ  Inductor reading
               แถบสีแรกจะเป็นสีเงินและมีขนาดความกว้างของแถบกว้างเป็น 2 เท่าของแถบสีอื่นๆ 

           
ตัวเหนี่ยวนำ อ่านค่าตัวเหนี่ยวนำ  Inductor reading







ตัวอย่าง 

การวัดวาริสเตอร์ ( Varistor ) อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น  

           วัดวาริสเตอร์

วาริสเตอร์ทำงานเหมือนตัวต้านทานที่มีค่าความต้านปรับค่าตามแรงดัน    ดูสัญลักษณ์วาริสเตอร์ด้านล่าง   ทีแรงดันน้อยกว่าค่าวาริสโวลเตจ  วาริสเตอร์จะมีค่าความต้านทานสูงมากมากเกือบเป็น Infinity หรือวัดด้วยมิเตอร์ไม่ขึ้น  เมื่อมีแรงดันสูงยอดแหลมที่เกิดจากฟ้าผ่าหรือแรงดันกระชากซึ่งมากกว่าค่าวาริสโวลเตจ วาริสเตอร์จะมีค่าความต้านทานต่ำมาก  จากค่าความต้านทานที่ต่ำมากนั้นมันจะดึงกระแสลงกราวด์ทำให้อุปกรณ์ป้องกันวงจรตัวอื่นๆทำงาน เช่น   ฟิวส์ขาด  ถ้ามีกระแสสูงมากเกินกว่าที่วาริสเตอร์รับได้มันจะระเบิด

วาริสเตอร์     Varistor


วาริสเตอร์ปกติจะมีค่าความต้านสูงมากมากวัดไม่ขึ้น  การวัดใช้ย่านวัดตัวต้านทานย่านสูงๆ
และย่านวัดต่ำเพื่อดูว่ามันชอร์ตไหม
                                  
วัดวาริสเตอร์
                                                     การวัดวาริสเตอร์ ถ้าดีจะวัดไม่ขึ้นเลย


ค่าตัวต้านทานและแถบสีตัวต้านทาน อ่านค่าตัวต้านทานให้เร็วขึ้น 1 step อ่านค่า R 4 แถบสี วัดตัวต้านทานพิสูจน์


อ่านค่าตัวต้านทาน  4  แถบสี
ค่าตัวต้านทานและแถบสีตัวต้านทาน 4  แถบสี พร้อมเฉลยค่า
เป็นที่ทราบแล้วว่า  แถบสีที่ 1 และ แถบสีที่ 2 เป็นตัวเลขตัวตั้ง  แถบสีที่ 3 เป็นตัวคูณ  ส่วนแถบสีที่ 4 เป็น % ค่าความคาดเคลื่อน  ดูที่ช่องตัวคูณและสังเกตค่าในตาราง  ถ้า น้ำตาลเท่ากับคูณด้วย  x10
แดงเท่ากับคูณด้วย  x100   ส้มคูณด้วย  x1000  ซึ่ง 1000 ก็เท่ากับ 1K  นั้นเอง  เวลาอ่านค่า  R ที่มีรหัสสีที่ 3 เป็นสีส้มก็ให้อ่านค่าออกมาเป็น K Ohm ได้เลย   ตัวคูณอื่นๆที่ค่ามากขึ้นก็ให้คิดเหมือนกัน
เช่น ถ้าเจอตัวคูณเป็นสีน้ำเงินก็ให้อ่านค่าออกมาเป็น Mega Ohm ได้เลย ด้วยวิธีการนี้จะทำให้อ่านค่า R ออกมาได้อย่างรวดเร็วขึ้น



อ่านค่าตัวต้านทาน  4  แถบสี

ตาราง  อ่านค่าตัวต้านทาน  4  แถบสี
                                                   ค่าสีตัวต้านทาน ใช้   อ่านค่าตัวต้านทาน



ฝึกอ่านค่า R จากตัวอย่างรูปจริงพร้อมวัดพิสูจน์


ตัวอย่างที่  1

ค่าตัวต้านทาน   R 5 แถบสี อ่านค่า แถบสีตัวต้านทาน แบบเห็นภาพเลย วัดตัวต้านทานพิสูจน์


วิธีอ่านค่าตัวต้านทาน   5 แถบสีนิยมใช้งานมากโดยเฉพาะ R   ค่าความคลาดเคลื่อน 1 %  ฝึกอ่านค่า หรือทบทวนการอ่านค่าได้โดยใช้รูปในบทความนี้
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

ค่าตัวต้านทาน    ตัวต้านทาน     5  แถบสี


แถบสีที่  1   2 และ   3 เป็นตัวตั้ง แถบสีที่ 4 เป็นตัวคูณ     ใช้ตารางด้านบนในการแทนค่ารหัสสี

ตัวอย่างที่  1
จากรูปมีสี    น้ำตาล  เขียว  ดำ  ดำ   น้ำตาล แทนค่าโดยใช้ตารางด้านบน
1  5  0   x  1   =  150 ohm
เครื่องวัดได้จริง  149.5 ohm


ตัวต้านทาน  R  ค่า   150  1%   ohm   10.5W
                               R  ค่า   150  1%   ohm   10.5W   


ตัวต้านทาน  R  ค่า   150  1%   ohm   10.5W
                                เครื่องวัดได้จริง  149.5 ohm    วัดตัวต้านทานพิสูจน์


ตัวอย่างที่  2 

ตัวเก็บประจุ คาปาซิเตอร์ Capacitor


ตัวเก็บประจุ   คาปาซิเตอร์   ຕົວເກັບປະຈຸ


ตัวเก็บประจุ  ( Capacitor )  บางคนอ่านว่าคาปาซิสเตอร์  คำอ่านที่ถูกต้องคือ คาปาซิเตอร์   เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในรูปแบบสนามไฟฟ้า ตัวเก็บประจุชนิดที่นิยมใช้และพบได้ทั่วไปเช่น ตัวเก็บประจุแบบไมก้า   ตัวเก็บประจุแบบเซรามิก  อิเล็กทรอไลต์ คาปาซิเตอร์  ( Aluminum  Electrolytic)  ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลัม  (Tantalum Electrolytic)   ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์มพลาสติก  ประเภทของตัวเก็บประจุแบ่งตามลักษณะขา เช่น ตัวเก็บประจุขาลวดมีขายาว     ตัวเก็บประจุแบบขาเขี้ยว   ตัวเก็บประจุ แบบขันน๊อต อ่านบทความตัวเก็บประจุชนิดต่างๆได้ใน Blog นี้  มีรูปตัวอย่าง และอธิบายคุณสมบัติอื่นๆ  Blog นี้เพื่องานการศึกษา

ตัวต้านทาน ไวร์วาวด์ หุ้มฮิทซิงค์ ( Aluminium Housed Resistor ) ตัวต้านทานค่าคงที่ โครงสร้าง คุณสมบัติ


ตัวต้านทาน   ตัวต้านทาน ไวร์วาวด์  หุ้มฮิทซิงค์

ตัวต้านทานหุ้มฮิทซิงค์เป็นตัวต้านทานไวร์วาวด์ชนิดหนึ่งเรียกชื่อตามวัสดุที่ใช้หุ้มคือฮิทซิงค์   ฮิทซิงค์ช่วยให้ตัวต้านทานระบายความร้อนได้ดีขึ้นมาก ทำให้วัตต์ตัวต้านทานเพิ่มขึ้นประมาณ 40-50%  เช่น ตัวต้านทานหุ้มฮิทซิงค์ 10W  ถ้าไม่หุ้มฮิทซิงวัตต์จะลดเหลือเพียง  5.5W     ตัวต้านทานหุ้มฮิทซิงค์ 50W  ถ้าไม่หุ้มฮิทซิงวัตต์จะลดเหลือเพียง  20W   เป็นต้น  การใช้งานมีใช้งานทั่วไป และใช้งานในระบบควบคุมอุตสาหกรรมสีของตัวต้านทานชนิดนี้ส่วนใหญ่เป็นสีทองและอาจมีสีเงินอยู่บ้าง ตัวต้านทานหุ้มฮิทซิงค์วัตต์ต่ำจะมีขาแบบบัดกรีถ้าวัตต์สูงจะมีขาแบบขันน๊อต  ที่ตัวต้านทานจะพิมพ์ค่าความต้านทาน ค่าวัตต์ และ  %  ความคลาดเคลื่อนไว้ทำให้ง่่ายในการเลือกใช้งานและหารุ่นทดแทน

คุณสมบัติของตัวต้านทานหุ้มฮิทซิงค์
-  มีค่าให้เลือกใช้งานตั้งแต่ค่าโอมต่ำจนถึงค่า K ohm
-  มีค่าวัตต์ให้เลือกใช้งาน  5W  -  300W
-  ค่าสัมประสิทธิ์ความต้านทานต่ออุณหภูมิเสถียรดีมาก    <±1%   ±1%   ±3%   ±5%   ±10%
ฮิทซิงค์และสารนำความร้อนที่อยู่ข้างในช่วยให้ตัวต้านทานระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว
-  ป้องกันตัวต้านทานจากแวดล้อมได้ดีมาก   โครงสร้างและชิ้นส่วนที่เชื่อมและหุ้มปิดช่วยป้องกันฝุ่นและความชื้นไม่ให้เข้าไปข้างในได้   (กรณีป้องกันไม่ดีความชื้นจะทำให้คุณสมบัติของวัสดุตัวต้านทานข้างในเสื่อมค่าและเปลี่ยนค่า)
-  ทนสัญญานพัลซ์ได้ดีเยี่ยม


รูปแสดงตัวต้านทานหุ้มฮิทซิงค์

ตัวต้านทานไวร์วาวด์ หุ้มฮิทซิงค์   Aluminium Housed Resistor


ตัวต้านทานไวร์วาวด์ หุ้มฮิทซิงค์   Aluminium Housed Resistor

ตัวต้านทานหุ้มฮิทซิงค์  Aluminum Housed   Resistor

ตัวเก็บประจุ ชนิดอิเล็กทรอไลต์

ตัวเก็บประจุ  ชนิดอิเล็กทรอไลต์   Aluminum electrolytic capacitor


ตัวเก็บประจุ  ชนิดอิเล็กทรอไลต์   Aluminum electrolytic capacitor
                                            รูป  ตัวเก็บประจุ  อิเล็กทรอไลต์ ขนาด / ค่าต่างๆ 



ตัวเก็บประจุมีหลายชนิดแต่ที่นิยมใช้งานมากมี 4  ชนิด

ตัวเก็บประจุ ตัวใหญ่ ขาน๊อต คาปาซิเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

   
ตัวเก็บประจุ   คาปาซิเตอร์ ตัวใหญ่

ตัวเก็บประจุขาน๊อต  มีชื่อเต็มภาษาอังกฤษว่า Aluminum Electrolytic Capacitor
จากชื่อบอกว่า ตัวเก็บประจุขาน๊อตเป็นชนิดอิเล็กทรอไลต์  มีขั้ว + และ -  ตัวเก็บประจุชนิดนี้มีขนาดใหญ่และมีค่าความจุสูง ยกตัวอย่าง    เช่น    4700UF   450VDC , 10000UF   350VDC ,   980000UF 7.5V  ,   360000UF   40VDC  ,   1F   25VDC  ,  2.2F  6.3VDC   เป็นต้น ค่าความจุสูงราคาจะแพงตามค่าความจุ  เมื่อต่อไฟใช้งานแล้วจะมีไฟค้างอยู่ไม่สามารถจับขั้วตัวเก็บประจุได้เพราะไฟจะซ๊อตและเป็นอันตราย ต้องทำการคายประจุทิ้งโดยใช้ตัวต้านทานมาต่อ

ตัวเก็บประจุ ปรับค่าได้ คาปาซิเตอร์ปรับค่าได้


ตัวเก็บประจุ  คาปาซิเตอร์   ຕົວເກັບປະຈຸ


Capacitor  ตัวเก็บประจุเขียนว่า คาปาซิเตอร์   ไม่ใช่ คาปาซิสเตอร์
ตัวเก็บประจุปรับค่าได้มีแกนเพื่อใช้หมุนปรับค่าความจุ แกนปรับอาจอยู่ด้านบนหรือด้านข้าง   สเปคพื้นฐาน  เช่น  ค่าความจุจะระบุเป็นย่าน   ค่าน้อยสุด-  ค่ามากสุด ( C MIN -  C MAX )    เช่น   4.5 ~ 20pF   ,  5.5-30PF , 3-15PF   , 8-40PF  , 0.4 ~ 2.5pF    เป็นต้น   พิกัดแรงดันที่ตัวเก็บประจุทนได้ เช่น   125V    150V    200V  250V  300V   350V   500V  600V   750V   1000V  1500V   2000V เป็นต้น  ลักษณะการต่อใช้งานมีทั้งแบบ SMD และแบบขายาว   วัสดุที่ใช้ทำฉนวนข้างใน (Dielectric Material)  มีหลายชนิด เช่น เซรามิคซึ่งมีเยอะที่สุด  ไมก้า(Mica)   อากาศ ( Air)     แก้ว ( Glass)   Polytetrafluoroethylene (PTFE)  ,  Sapphire  เป็นต้น ฉนวนข้างในที่ต่างกันจะให้คุณสมบัติที่ต่างกัน  ตัวเก็บประจุปรับค่าได้ถ้ามีขนาดเล็กเรียกว่า  "  Trimmer Capacitor   "

ตัวเก็บประจุแบบ SMD ( SMD Capacitor ) คาปาซิเตอร์ SMD

ตัวเก็บประจุ  คาปาซิเตอร์   SMD



ตัวเก็บประจุแบบ SMD   บางครั้งเรียกว่า ตัวเก็บประจุแบบชิป  เนื่องจากมันมีลักษณะเป็นแผ่นเหมือน Chip    อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบ SMD มีขนาดเล็ก ช่วยลดขนาด PCB และทำให้อุปกรณ์หรือเครื่องมีขนาดเล็กลง   อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ที่เน้นพกพาสะดวกจึงเน้นใช้อุปกรณ์แบบ SMD  ในวงจร   ในปัจจุบันเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่ๆ ที่ผลิตออกมาในตลาดก็จะใช้อุปกรณ์แบบ SMD เพิ่มขี้น ดังนั้นการเรียนรู้เกียวกับอุปกรณ์ SMD จึงเป็นสิ่งจำเป็น
ถ้าพูดถึง  ตัวเก็บประจุแบบ SMD  เรามุ่งหมายถึงตัวเก็บประจุที่ใช้วิธีการบัดกรีแบบเปะติดลงบนพื้นผิว PCB มิได้หมายถึงชนิดวัสดุที่ใช้ทำฉนวนไดอิเล็กตริกของตัวเก็บประจุ    ตัวเก็บประจุแบบ SMD  ใช้ฉนวนไดอิเล็กตริกหลายชนิด เพื่อป้องกันการสับสน   การระบุชื่่อต้องระบุให้ครบ

ฟิวส์ SMD Fuse SMD อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

    
ฟิวส์   SMD  Fuse  SMD



ฟิวส์ SMD คือฟิวส์ที่แปะติดบนพื้นผิววงจร  มีพิกัดแรงดันให้เลือกใช้งาน  32V   63V   65V   125V   250V   277V  มีทั้งแบบใช้กับไฟ  DC และใช้กับไฟ AC  และมีรุ่นที่ใช้ได้ทั้งไฟ DC และ AC   ฟิวส์ SMD  ส่วนมากมีพิกัดกระแสต่ำและกระแสสูปานกลาง  เช่น 50mA  63mA  200mA  500mA   5A   10A   20A  40A  50A  เป็นต้น   นิยมใช้ในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์   เช่น  อุปกรณ์อิเล็กทรอส์ที่เน้นพกพาสะดวก 

สเปค คอนเนกเตอร์ ขั้วต่อ เบื้องต้น สำหรับช่างมือใหม่ แจ๊ค ปลั๊ก

แจ๊ค  ปลั๊ก  คอนเนกเตอร์   ขั้วต่อ


คอนเนกเตอร์ใช้เชื่อมต่อวงจร  เพื่อความสะดวกในการตัดต่อและการเช็ควงจรด้วย   ในงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติจะใช้คอนเนกเตอร์หลายแบบ   คอนเนกเตอร์ตามรูปด้านล่างมีลักษณะกลมเรียกว่า Circular Connector  เป็นคอนเนกเตอร์ที่นิยมใช้งานมาก    มีสเปคพื้นฐานที่ต้องทราบดังนี้

1. ลักษณะคอนเนกเตอร์  แบ่งออกเป็นปลั๊ก ( Plug )  และ เต้ารับ ( Receptacle )  ลักษณะของปลั๊กคือมีการเสียบเข้าเสียบออกมีการเคลื่อนที่     ส่วนเต้ารับจะมีลักษณะยึดอยู่กับที่ หรือ ยึดอยู่ที่เครื่อง

สายแพ สีเทา สายแพ สีรุ้ง ( Flat Ribbon Cable )

      
สายแพสีเทา  สายแพสีรุ้ง    Flat  Ribbon  Cable
                                                             


สายแพที่นิยมใช้งานมี 2 สี คือ สีเทาและสีรุ้ง  จำนวนสายหรือจำนวน PIN  มีตั้งแต่จำนวนน้อยจนถึงมากยกตัวอย่าง    เช่น  4 pin    5 pin  6 pin  7 pin   8 pin    9  pin  10   pin   12  pin  14  pin  15 pin   20 pin   25  pin  26 pin    28 pin   30 pin  34 pin   40 pin    50  pin 52 pin  60 pin    64  pin   68 pin    80 pin  96 pin  100    สเปคอื่นๆที่สำคัญเช่น ระยะพิตช์สาย หรือระยะห่างระหว่างสายไฟแต่ละเส้น  มี  ระยะพิตช์สาย  0.64mm   ระยะพิตช์สาย  1mm   ระยะพิตช์สาย  1.27mm

ไดโอดขั้วมาตรฐาน ไดโอดขั้ว Reverse เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้กับ แหล่งจ่ายไฟ

ไดโอด
ไดโอดขั้วมาตรฐาน   ไดโอดขั้ว Reverse

ไดโอดหัวน๊อตมีทั้ง  ไดโอดขั้วมาตรฐานและไดโอดขั้ว Reverse   ที่ตัวไดโอดสัญลักษณะของไดโอดหัวลูกศรจะมีทิศทางต่างกัน  ดูรูปด้านล่างประกอบ  นอกจากนี้เบอร์ของไดโอดก็แตกต่างกันได้ด้วย ตัวอย่างเช่น   เบอร์   40HF40   จะเป็นไดโอดขั้วมาตรฐาน   40HFR40