การอ่านค่าตัวเก็บประจุ Capacitor Code ช่วยอ่านค่า C อย่างรวดเร็ว วัดตัวเก็บประจุ พิสูจน์การอ่านค่า

ตัวความจุ   ຕົວເກັບປະຈຸ

ก่อนที่จะใช้  Capacitor Code  ช่วยอ่านค่า C  ขอทบทวนหลักการ 2 ประเด็นก่อน  ประเด็นแรก  % ค่าความคาดเคลื่อนของตัวเก็บประจุ
B  =   ± 0.1 pF
C  =   ± 0.25 pF
D  =   ± 0.5 pF
F  =   ± 1%
G  =   ± 2%
J   =   ± 5%
K  =   ± 10%
M  =  ± 20%
Z   =  +80% / -20%
B   C   D   นิยมใช้กับตัวเก็บประจุชนิดเซรามิค


ประเด็นที่ 2  การระบุค่าความจุในที่นี้ขอแบ่งออกเป็น  3  แบบ

วิธีอ่านค่าตัวต้านทาน SMD 102 คือ ตัวต้าน 1K ohm และ รูปตัวต้านทาน  SMD


ตัวต้านทาน


รูปตัวต้านทาน  SMD พร้อมเฉลยค่าตัวต้านทาน
ตัวต้านทาน  SMD  มีขนาดเล็กทำให้ไม่มีพื้นพี่สำหรับพิมพ์ค่าวัตต์ ค่าความต้านทาน และ ค่า % ความคาดเคลื่อนเหมือนกับตัวต้านทานตัวใหญ่ๆ    พื้นที่สำหรับพิมพ์รหัสสีก็ไม่มีเช่นกันจึงใช้รหัสสีระบุสเปคไม่ได้  ค่าวัตต์ตัวต้านทาน SMD จะทราบได้จากรหัสขนาดโดยวัดความกว้าง ความยาว ความสูงแล้วดูค่าในตาราง    ยกตัวอย่างเช่นตัวต้านทานที่มีขนาด ยาวxกว้างxสูง  = 3.1x1.6x0.55mm มีชื่อเรียกเฉพาะตามมาตรฐาน EIA Size Code  ว่าขนาด Case Size  1206  จะมีวัตต์ =  1/4W   ถ้าใช้ขนาด Case Size ในการประมาณค่าวัตต์  ผู้ผลิตแต่ละรายอาจมีค่าวัตต์ตัวต้านทาน SMD ที่ไม่เท่ากันเปะแต่ก็จะมีค่าวัตต์ที่ใกล้เคียงกัน


(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)


ดูขนาดแล้วเทียบเป็นวัตต์ตามตารางนี้    

ขนาด ตัวต้านทาน  SMD


สำหรับค่าความต้านทาน และ  % ความคาดเคลื่อนบอกเป็นรหัสสั้นๆ   รหัสอาจเป็นรหัสตัวเลขล้วน หรือรหัสตัวเลขปนกับตัวอักษร 
โดยอักษร R หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Ohm
K  หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น   Kilo     Ohm     
M หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น   Mega  Ohm


รหัสบอกค่าความต้านทานแบ่งออกเป็น 2    แบบใหญ่ๆ   ดังนี้

1)  แบบ  3 Digit Marking  ใช้กับตัวต้านทาน SMD  ที่มีค่าความคาดเคลื่อน   ±5% 
เช่น   244  มีความหมายดังนี้  ตัวเลขแรกและตัวเลขที่สองเป็นตัวเลขตัวตั้ง   ตัวเลขที่สามเป็นตัวคูณ (10 ยกกำลัง หรือจำนวนเลข 0 )   ดูตัวอย่างกันเลย

244   =    24  x  10 ยกกำลัง 4  ( x 10000)    =  24 x 10000      =  240000   =  240 K ohm 
240   =    24  x  10 ยกกำลัง 0  ( x1  )           =  24 x 1 =  24     =  24  ohm   
105  =     10  x  10 ยกกำลัง 5  ( x 100000)  =  10x 100000     =  1000000  =  1000 K ohm  หรือ 1 M ohm
210  =      21  x  10 ยกกำลัง 0  ( x1 )       =     21x 1          =   21  ohm 
221  =      22  x  10 ยกกำลัง 1  ( x10)      =     22x10         =   220 ohm
101  =      10  x  10 ยกกำลัง 1  ( x10)      =     10x10         =  100     =   100  ohm  
102  =      10  x  10 ยกกำลัง 2  ( x100)    =     10x100       =  1000   =   1K  ohm
103  =      10  x  10 ยกกำลัง 3  ( x1000)  =     10x1000     =  1000   =   10K  ohm
2R2  =      2.2  ohm     , R หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Ohm   , ถ้า K = K Ohm ,  M= Mega ohm
R22  =      0.22 ohm    , R หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Ohm   , ถ้า K = K Ohm ,  M= Mega ohm
R50  =      0.50  ohm   , R หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Ohm   , ถ้า K = K Ohm ,  M= Mega ohm
R33  =      0.33 ohm    , R หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Ohm   , ถ้า K = K Ohm ,  M= Meag ohm


ตัวต้านทาน SMD  รหัส 301
ตัวต้านทาน SMD  รหัส 301 =  30x10 = 300 ohm


เปรียบเทียบชนิดของตัวต้านทาน ให้ดูชัดๆ ป้องกันการระบุชนิด R ผิด รูปตัวต้านทานค่าคงที่หรือตัวต้านทานคงที่

ตัวต้านทาน  ชนิดต่างๆ   Resistor type
                                                      เปรียบเทียบชนิด ตัวต้านทาน   

ชนิดของตัวทานค่าคงที่และรูปตัวต้านทานจำนวนมากดูเพื่อเปรียบเทียบช่วยให้เข้าใจง่าย
เราทราบกันดีแล้วว่าตัวต้านทานมีหลายชนิด   ในทางปฏิบัติมี   R  ที่สีคล้ายๆกันจึงเป็นปัญหาในการแยกชนิดตัวต้านทานในบางครั้ง  สำหรับคนที่มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวข้องกับตัวต้านทานหลายๆแบบจะไม่มีปัญหาเรื่องนี้แต่กลับกันสำหรับมือใหม่หลายครั้งพบว่าการระบุชนิดตัวต้านทานนั้นจำเป็นต้องหาประสบการณ์และข้อมูลเพิ่มเติม  จากการสำรวจตลาดเราได้รวบรวม R แบบต่างๆที่มีขายแล้วแยกเป็นกลุ่มๆ ไม่ปนกัน  จากนั้นทำการเปรียบเทียบให้ดูแบบชัดๆ  มีรูปประกอบจำนวนมากช่วยให้เข้าใจง่ายและสามารถย้อนกลับมาดูเมื่อต้องการศึกษาได้ตลอดเวลา  ก่อนที่จะทำการเปรียบเทียบขอเริ่มต้นด้วยการดูรูป   R ชนิดต่างๆก่อน  การเปรียบเทียบจะอยู่ในช่วงท้าย  จะนำมากล่าวในบทความนี้เพียง 5 ชนิดเท่านั้น คือ  ต้านทานชนิดผงคาร์บอน   ต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน   ตัวต้านทานเมตัลฟิล์ม   ตัวต้านทานทนความร้อน  หรือ  Metal Oxide Film Resistor  และ  ตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์

(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)


1.   ตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอน  ( Carbon Composition  Resistor  )

carbon resistor  ຕົວຕ້ານທານ  ต้านทานชนิดผงคาร์บอน  រេស៊ីស្តង់   Carbon Composition  Resistor


2.   ตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน  ( Carbon Film  Resistor  )

ตัวต้านทาน     ชนิดฟิล์มคาร์บอน
                                                     ลักษณะตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน



3.   ตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม  (  Metal  Film   Resistor )

ตัวต้านทาน   ชนิดเมตัลฟิล์ม   ຕົວຕ້ານທານ
                                                     ลักษณะตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม

 4.   ตัวต้านทานทนความร้อน  หรือ  Metal Oxide Film Resistor


ตัวต้านทาน    ตัวต้านทานทนความร้อน  ຕົວຕ້ານທານ  រេស៊ីស្តង់
                                ลักษณะ    ตัวต้านทานทนความร้อน  หรือ  Metal  Oxide  Film Resistor  


ตัวต้านทาน ตัวต้านทานทนความร้อน    Metal Oxide Film Resistor
                  ลักษณะ    ตัวต้านทานทนความร้อน  หรือ  Metal  Oxide  Film  Resistor  


5.   ตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์  (  Wirewound  Resistor )

เปรียบเทียบ วารีสเตอร์ และ ตัวเก็บประจุ แบบเซรามิค Varistor Vs Ceramic Capacitor

วารีสเตอร์  ตัวเก็บประจุเซรามิค   Varistor Vs  Ceramic Capacitor


มองดูเผินๆทั้ง วารีสเตอร์ และ ตัวเก็บประจุแบบเซรามิคเป็นสีฟ้าทั้งคู่  บางคนมีคำถามว่าอุปกรณ์ตัวสีฟ้าๆนี้เป็นตัวอะไร  วารีสเตอร์  หรือ  C  เซรามิค      ?
มีข้อสังเกต  4    ข้อ     เกี่ยวกับลักษณะของวาริสเตอร์   อ่านครบ 4 ข้อนี้จะสามารถแยกวารีสเตอร์ และ ตัวเก็บประจุแบบเซรามิคได้เกือบทั้งหมด มีดังนี้

1. ข้อความที่ตัวอุปกรณ์
เบอร์ขึ้นต้นของวาริสเตอร์จะขึ้นต้นด้วย    MOV   ZOV    TMOV   ZOV   CNR  CVR  TVR  ZNR  DNR  TVR   KVR  VDR  ผู้ผลิตแต่ละรายใช้อักษรเบอร์ขึ้นต้นต่างกัน
โดยอักษร  V  ย่อมาจาก  Varistor
ยกตัวอย่าง  MOV   ZOV    TMOV
MOV   ย่อมาจาก     Metal oxide  varistors
ZOV    ย่อมาจาก     Metal Zinc Oxide   varistors
TMOV ย่อมาจาก   Thermally protected  varistors

ผ่าให้ดูโครงสร้างข้างในของตัวต้านทานชนิดต่างๆ รูปตัวต้านทานคงที่ โครงสร้างของตัวต้านทาน


ตัวต้านทาน  Resistor   ຕົວຕ້ານທານ


เคยอ่านโครงสร้างตัวต้านทานที่อธิบายไว้ในหนังสือและในหนังสือก็มีรูปประกอบ    มาดูของจริงอีกรอบว่ามันเป็นอย่างไร      รูปของจริงทำให้การเรียนรู้น่าสนใจและสนุก    รูปของจริงช่วยให้เข้าใจโครงสร้างของตัวต้านทานที่อธิบายไว้ในหนังสือได้มากขึ้น       มาดูกันเลย

(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)

1. โครงสร้างตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม

รูปตัวต้านทาน   ชนิดเมตัลฟิล์ม

ตัวต้านทาน
   โครงสร้างตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม  ระหว่างแต่ละเกลียวจะเป็นร่องเป็นตัวกั้น  ในรูปสีที่เคลือบเข้าไปในร่อง


2.  โครงสร้างตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอน

ตัวต้านทาน

   
ตัวต้านทาน Resistor




ตัวต้านทานเซรามิค ( Ceramic Resistor ) ตัวต้านทานกระเบื้อง R กระเบื้อง คุณสมบัติ โครงสร้าง

ตัวต้านทานกระเบื้อง  R กระเบื้อง  ຕົວຕ້ານທານ


ตัวต้านทานเซรามิคนิยมใช้งานในแผงวงจรโดยเฉพาะแผงวงจรงานอุตสาหกรรม  ลักษณะสีของตัวต้านทานเป็นสีขาว ข้างนอกหุ้มด้วยเซรามิค  ข้างในมีชิ้นส่วนที่เป็นตัวต้านทานซึ่งทำมาจากเส้นลวดพัน ( Wirewound ) หรือ  เมตัลออกไซด์ฟิล์ม  เมตัลออกไซด์ฟิล์มจะใช้ทำตัวต้านทานแทนเส้นลวดเมื่อค่าที่ต้องการผลิตด้วยเส้นลวดทำไม่ได้ เราใช้เลือยเพื่อผ่าดูข้างในว่าเป็นอย่างไร  ปรากฏว่าเลือยไม่ค่อยเข้าเนื่องจากเป็นเซรามิคกลัวใบเลื่อยจะเสียจึงใช้วิธีการทุบแทน   ปรากฏดังรูปด้านล่าง   ข้างในมีชิ้นส่วนตัวต้านทาน มีฝาต่อขาและมีขาต่อใช้งาน    ด้วยคุณสมบัติของเซรามิคที่ใช้หุ้มทำให้ตัวต้านทานชนิดนี้มีคุณสมบัติที่ดีขณะที่ราคาถูก

(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)

ข้อดี
-   ทนความร้อนได้ดี
-   ระบายความร้อนได้ดี
-   ค่าความต้านทานมีความเสถียรต่ออุณหภูมิ
-   เซรามิคเป็นฉนวนที่ดีมาก R ชนิดนี้จึงเหมาะกับการใช้งานในแผงวงจรทีมีอุปกรณ์จำนวนมากในแผง
-   หุ้มด้วยเซรามิคทำให้ทนต่อความชื่นและการสั่นสะเทือนได้ดี  อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์หลายอย่างเวลาทำงานจะเคลื่อนที่ไปมาชิ้นส่วนข้างในแผงวงจรมีโอกาสหลุด ดังนั้นชิ่นส่วนที่มีคุณสมบัติทนการสั่นสะเทือนได้ดี ( Resistance to shock ) จึงมีความจำเป็นสำหรับงานที่มีการเคลื่อนที่ไปมา
- ไม่เป็นเชื้อไฟ( Flameproof) เมือเกิดกรณีแย่สุดในวงวรตัวต้านทานอาจเสียหาย ด้วยคุณสมบัติของเซรามิคจะไม่เป็นเชื้อไฟและไม่มีเปลวไฟเพื่อลามไหม้ชิ่นส่วนอื่นๆในวงจร  ด้วยคุณสมบัติกันไฟลามนี้จึงช่วยป้องกันไฟใหม้ด้วยการไม่ลามไปไหม้ชิ่นส่วนอื่นๆ

รูปตัวต้านทานไวร์วาวด์ ( Wirewound Resistor ) โครงสร้าง  คุณสมบัติ


ตัวต้านทานไวร์วาวด์   Wirewound Resistor   ຕົວຕ້ານທານ


ตัวต้านทานไวร์วาวด์ บางครั้งเรียกตัวต้านทานชนิดขดลวด (ลวดพัน)    โครงสร้างพื้นฐานของตัวต้านทานชนิดนี้ทำจากเส้นลวดพันรอบแกนเซรามิคหรืออาจเป็นแกนไฟเบอร์กลาส  เส้นลวดที่ใช้พันอาจเป็นชนิด  Copper Nickel  Alloy หรือ  Nickel-Chrome Alloy   ด้านนอกสุดหุ้มด้วยซิลิโคนชนิดพิเศษทนความร้อนได้สูงหรืออาจเป็นวัสดุชนิดอื่นที่ทนความร้อนได้สูง  การหุ้มช่วยป้องกันตัวต้านทานจากสภาพแวดล้อม    ตรงปลายทั้งสองข้างมีฝาสำหรับต่อขาตัวนำออกไปใช้งาน    กำลังไฟฟ้าหรือวัตต์มีค่าตั้งแต่ 1/2W  1W 3W  5W  7W  10W   15W...จนถึง 1000W ขึ้นไป    โดยตัวต้านทานวัตต์ต่ำจะมีขายาวใช้สำหรับบัดกรีลงแผงวงจร   ตัวต้านทานวัตต์สูงขึ้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีขาสั้นเอาไว้บัดกรีเชื่อมต่อกับสายไฟและตัวต้านวัตต์สูงมีขาเป็นแบบขันน๊อตก็มีเพื่อให้การต่อแน่นและง่าย    สำหรับค่าความต้านทานของตัวต้านทานไวร์วาวด์ผลิตได้ตั้งแต่ค่าน้อยกว่า 1 โอห์มจนถึงค่าเป็น  Kilo โอห์ม   ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานที่ผลิตคือ   ±5%   ±10% แต่สามารถผลิตสเปคอื่นๆได้ตั้งแต่    ±0.01%   ±1%   ±2%   ±3%   ±5%   ±10%    ตัวต้านทานไวร์วาวด์มีคุณสมบัติที่ดีมาก  ( High performance ) คือ  ค่าความต้านทานเสถียรเมื่อทำงานในวงจร   ระบายความร้อนได้ดี   ทนความร้อนได้สูง

การอ่านค่า L หรือ ตัวเหนี่ยวนำ แบบ SMD การอ่านค่า L ตอนที่ 2 อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน

ตัวเหนี่ยวนำ  Inductor



L  แบบ SMD ตามรูปในบทความนี้เรียกว่า SMD  Power  Inductors  จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมา ข้างในทำจากเส้นลวด (Wirewound)  พันรอบแกนเฟอร์ไรต์  ส่วน   L   SMD  อีกแบบที่เป็นตัวสี่เหลี่ยมเหมือน R  SMD  เรียกว่า   Chip Inductors    ขนาดของ L ค่อนข้างหลากหลายมีทั้งแบบขนาดมาตรฐานและแบบไม่มาตรฐานผลิตขึ้นเพื่อให้ได้ค่า L ตามที่วงจรต้องการ

%  ความคาดเคลี่อนของ   L

J    =  ±5 %
K   =  ±10 %
L   =   ±15 %
M  =  ±20 %
V   =  ±25 %
N   =  ±30 %

วิธีการอ่านค่า  L  แบบ  SMD Power Inductors 

การอ่านค่า L หรือ ตัวเหนี่ยวนำ ตอนที่ 1 อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน

อ่านค่า  ตัวเหนี่ยวนำ  หรือ L

ตัวเหนี่ยวนำหรือ  L  มีหลายรูปแบบการอ่านค่าจะแตกต่างกันสำหรับแต่ละแบบ  เพื่อให้เข้าใจง่ายขอแยกเป็นตอน ๆ     ตอนแรกนี้จะกล่าวถึง    การอ่านค่า  L   4 แถบสี  การอ่านค่าคล้ายกับการอ่านค่าตัวต้านทาน   ถ้าอ่านค่า R เป็นก็จะอ่านค่า   L ได้อย่างรวดเร็ว  ความหมายของรหัสสีแสดงในตาราง
ข้อมูลในตารางอ้างอิงจากผู้ผลิต L ชั้นนำของโลกดูข้อมูลเพิ่มได้ที่ลิงค์ใต้ตาราง

อ่านค่า  ตัวเหนี่ยวนำ  หรือ L
 


ตัวอย่าง ที่  1   

ฟิวส์ Fuse ในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ฟิวส์หลอดแก้ว ฟิวส์กระเบื้อง ฟิวส์ SMD


ฟิวส์   Fuse   ในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์     ฟิวส์หลอดแก้ว  ฟิวส์กระเบื้อง  ฟิวส์  SMD
   ฟิวส์      ในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์


ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันวงจร อุปกรณ์และคนจากอันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากกระแสไหลเกิน  เพื่อให้เข้าใจการทำงานของฟิวส์เราจำเป็นต้องเข้าใจคำศัพท์ที่ใช้อธิบายการทำงานของฟิวส์ คำศัพท์เหล่านี้จะพบได้ในเอกสารสเปค หรือ Datasheet ของผู้ผลิต บทความนี้เราจะกล่าวถึงหัวข้อสำคัญและการทำงานของฟิวส์เบื้องต้นเท่านั้น  ในการออกแบบวงจรจริงต้องมีการคำนวณตามหลักการคำนวณ การเลือกใช้ชนิดของฟิวส์ให้เหมาะกับชนิดของวงจรและสุดท้ายต้องมีการทดสอบเพื่อพิสูจน์ว่าฟิวส์สามารถป้องกันกระแสเกินและทำงานได้จริงในสภาวะวงจรที่ทำงานไม่ปกติแบบต่าง ๆ

ตัวต้านทาน SMD และรูปตัวต้านทาน SMT

ตัวต้านทาน  SMD   Resistor

ตัวต้านทาน  SMD  ขอเริ่มด้วยด้วยคำว่า SMD ย่อมาจก Surface Mount Device  แปลว่าอุปกรณ์เชื่อมเปะติดบนพื้นผิว  บางครั้งเรียกว่า SMT  Resistor   โดย SMT ย่อมากจาก  Surface Mount Technology มีความหมายสื่อถึงวิธีการเชื่อมติดเปะอุปกรณ์บนพื้นผิว   และบางครั้งก็เรียกว่าตัวต้านทานแบบ Chip ( Chip Resistor )  ทั้งนี้ก็เนื่องจากมันมีลักษณะเป็นแผ่นสีเหลี่ยมเหมือน Chip นั้นเอง
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นพกพาสะดวกต้องทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก    R แบบ SMD มีขนาดเล็ก จีงทำให้ประหยัดพื้นที่และลดขนาดของ PCB


(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)


Resistor ตัวต้านทาน


รูปแสดงการใช้งานตัวต้านทาน  SMD ในวงจร
ตัวต้านทาน SMD ส่วนใหญ่จะสีดำและมีตัวเลขพิมพ์ไว้บอกค่าความต้านทาน
ขณะที่ตัวเก็บประจุแบบ SMD ส่วนใหญ่จะเป็นสีน้ำตาลและไม่มีตัวเลขที่ตัวเก็บประจุ
ที่ลายวงจรจะพิมพ์ตัวอักษรไว้ให้เรารู้ว่าเป็น R  SMD หรือ C SMD
ถ้าเป็น  R SMD จะพิมพ์ไว้ขึ้นต้นด้วย R   ตัวอย่าง เช่น   R1   R2    R3   เป็นต้น
ถ้าเป็น  C SMD จะพิมพ์ไว้ขึ้นต้นด้วย C   ตัวอย่าง เช่น   C1   C9            เป็นต้น

ตัวต้านทาน  SMD  Resistor   ຕົວຕ້ານທານ



การอ่านค่าตัวเก็บประจุแทนทาลัมแนวตั้ง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

ตัวเก็บประจุ  ຕົວເກັບປະຈຸ


การอ่านค่าตัวเก็บประจุแทนทาลัมและหน่วยของตัวเก็บประจุที่ระบุไว้ที่ตัวอุปกรณ์
การอ่านค่า ตัวเก็บประจุแทนทาลัมแนวตั้ง แบ่งออกเป็น  2 แบบตามลักษณะข้อมูลที่ตัว  C   ก่อนที่จะดูตัวอย่าง  ขอกล่าวถึงรหัสแรงดันของตัวเก็บประจุแทนทาลัมแนวตั้งก่อน  เพราะจำเป็นต้องใช้อ้างอิงในตัวอย่างที่  2.1  -   2.3

รหัสแรงดันตัวเก็บประจุแทนทาลัมแนวตั้ง  




1.   ระบุค่าความจุเป็นตัวเลขตรง ๆ  มีหน่วยเป็น  μF   และพิกัดแรงก็ระบุเป็นตัวเลขตรง ๆ เช่นกัน   มีหน่วยเป็น V  ดูตัวอย่างตามรูป    100 =   100μF    ,   16 =  16V
เครื่องวัดได้   110.7μF   ถือว่าใกล้เคียง   ตัวนี้ทราบข้อมูลแน่ชัดเพราะตอนซื้อคนขายก็บอก  100μF   16V   ตัวละ  38 บาท

การอ่านค่าตัวเก็บประจุแทนทาลัม แบบ SMD Tantalum Capacitor อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน

ตัวเก็บประจุ   ຕົວເກັບປະຈຸ



การอ่านค่าตัวเก็บประจุแทนทาลัม  แบบ  SMD และหน่วยของตัวเก็บประจุระบุไว้ที่ตัว C
ที่ตัวเก็บประจุแทนทาลัม  แบบ  SMD จะมีข้อมูลสเปคระบุไว้หลายอย่าง  จำเป็นต้องเข้าใจคอนเซปจึงจะอ่านค่าตัวเก็บประจุชนิดนี้ได้  ผู้ผลิตแต่ละรายมีข้อมูลต่อไปนี้ระบุไว้ที่ตัว C  อาจมีครบหรือไม่ครบทุกข้อ

1. ค่าความจุ  มี 2 แบบย่อย คือ แบบที่ 1 ระบุเป็นรหัสตัวเลข  ( Capacitance code )  ให้อ่านหน่วยออกมาเป็น pf  (  pico Farad)  ใช้สำหรับตัวเก็บประจุแทนทาลัม  แบบ  SMD  ขนาด Case Size A   สำหรับผู้ผลิตยี่ห้อ Vishay  ขณะที่ยี่ห้อ AVX ใช้กับขนาด Case Size  A, B, C, D, E, F, H, K, S, T, U, V, W, X, Y     แบบที่ 2  ระบุเป็นตัวเลขตรงๆ    ให้อ่านหน่วยออกมาเป็น  μF  ( ดูที่รูป Marking ด้านล่าง )  ใช้สำหรับตัวเก็บประจุแทนทาลัม  แบบ  SMD  ขนาด Case Size  B, C, D, E สำหรับผู้ผลิตยี่ห้อ Vishay    ผู้ผลิตแต่ละรายมีวิธีการระบุความจุทั้ง 2 แบบต้องใช้การสังเกตว่าเป็นรหัสค่าความจุ  หรือ  ระบุเป็นตัวเลขตรงๆ

ตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลัม ( Tantalum capacitor ) คาปาซิเตอร์แทนทาลัม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น



ตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลัมเป็นชนิดย่อยของตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์   ซึ่งมีคุณสมบัติที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้มีคุณสมบัติบางอย่างดีกว่าตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์  โครงสร้างพื้นฐานด้านในใช้แทนทาลัมเป็นขั้วแอโนด  หุ้มด้วยชั้นของออกไชด์ที่เป็นฉนวนเพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนคั่น  ส่วนขั้วแคโทดอาจใช้อิเล็กทรอไลต์ที่เป็นของแข็งหรือของเหลวก็ได้  ( ให้ดูเพิ่ม  solid and non-solid electrolyte , Wet tantalum capacitor )    ด้วยความที่ฉนวนบางมากและมีค่าคงที่ไดอิเล็กทริกสูงทำให้ได้ค่าความจุต่อปริมาตรสูงมาก

ตัวเก็บประจุ ชนิดเซรามิค ( Ceramic Capacitor ) คาปาซิเตอร์ เซรามิค



ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิคเป็นตัวเก็บประจุมีค่าความจุคงที่และไม่มีขั้ว   ใช้เซรามิคทำหน้าที่เป็นฉนวนไดอิเล็กตริกข้างใน    อาจมีเซรามิค 2 ชั้นหรือมากกว่าที่เรียกว่า Multilayer
ตัวเก็บประจุแบบเซรามิคมีทั้งสีฟ้า และสีน้ำตาลที่ตัว C จะระบุค่าความจุและพิกัดแรงดัน


รูปแสดงตัวอย่างการใช้งานตัวเก็บประจุชนิดเซรามิค
ลักษณะตัวเก็บประจุส่วนใหญ่จะแบนและกลมภาษาอังกฤษเรียกว่า   disc ceramic capacitor
มีทั้งสีน้ำตาลและสีฟ้า

แนะนำ หนังสือสำหรับนักศึกษา สาขาอิเล็กทรอนิกส์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ที่สนใจ มี การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

แนะนำหนังสือสำหรับอ่านเพิ่มเติมและทบทวนความรู้ที่เคยเรียน หนังสือเหล่านี้สามารถหาอ่านได้ตามห้องสมุดของมหาวิทยาลัย   ห้องสมุดของวิทยาลัย   ร้านหนังสือชั้นนำและร้านออนไลน์ต่างๆให้ใช้ชื่อหนังสือเพื่อค้นหาหนังสือ     เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายและครบๆ จำเป็นต้องอ่านหนังสือให้หลากหลายและหลายเล่ม  ลองไล่ดูชื่อหนังสือ  16   เล่มต่อไปนี้ว่าสนใจเล่มไหนบ้าง   ?  


1.   หนังสือ งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์   มีเนื้อหาพื้นฐานเกี่ยวกับงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหนังสือเล่มแรกๆที่ต้องอ่านเนื่องจากมันเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการเรียนสาขาอิเล็กทรอนิกส์ ก่อนที่จะเรียนเรื่องอื่นๆต้องอ่านเล่มนี้ก่อน   หนังสือเล่มนี้มี 12 บท เริ่มตั้งแต่มาตรฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า ทฤษฏีอิเล็กตรอน ตัวนำ สารกึ่งตัวนำ ฉนวนและความต้านทาน  ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ  เครื่องมือช่าง อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน  สัญลักษณ์ของอุปกรณ์ หน่วยวัด เครื่องมือวัดไฟฟ้า   เป็นต้น 

หนังสือ งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

2.  หนังสือ พื้นฐานการออกแบบวงจรอย่างง่าย   มี 8 บท   บทที่ 1-7 เป็นตัวอย่างการเอาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาออกแบบเป็นวงจร เพื่อให้เข้าใจคอนเซปต์การออกแบบวงจรพื้นฐาน  เป็นการนำทฤษฏีที่เรียนนำมาใช้ออกแบบวงจรจริงๆ       บทที่ 8 เป็น รวมโครงงาน   ตามห้องสมุดน่าจะมีให้อ่านเล่มนี้

หนังสือ พื้นฐานการออกแบบวงจรอย่างง่าย


3.  หนังสือ  การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม ( E BOOK )   มี 15 บทเป็นหนังสือ E BOOK อ่านสะดวกอ่านผ่านมือถือพกไปได้ทุกที่ เปิดอ่านเมื่อต้องการ  เนื้อหาเกี่ยวการวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดต่างๆครอบคลุมอุปกรณ์ที่นิยมใช้งาน   เช่น  วัดมอสเฟต  วัดไตรแอค วัดเอสซีอาร์ วัดซีเนอร์ไดโอด วัด IC วัดไอจีบีที   การวัดทรานซิสเตอร์   เป็นต้น เหมาะสำหรับผู้ทีสนใจการซ่อมวงจรและซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า การใช้มัลติมิเตอร์วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีตรวจสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ว่าดีหรือเสียด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็มและแบบดิจิตอล   อ่านได้ที่ร้าน  MEBMARKET ซึ่งเป็นผู้ให้บริการหนังสือ E BOOK ชั้นนำ    อ่านได้ที่   https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&book_id=128127&page_no=1



หนังสือ e-book  การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
               หนังสือ  การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม  ( E BOOK)




4. หนังสือ เครื่องเสียง  เรียนรู้พื้นฐานที่สำคัญเกี่ยวกับเครื่องเสียง     เช่น    หลักการทำงานของวงจรภาคต่างๆของเครื่องขยายเสียง     บล๊อกไดอะแกรม    วงจรขยายกำลังแบบ  OT  OTL  OCL   วงจรขยายแบบไดเร็กคัปปลิ้ง  การสร้างและทดสอบเครื่องขยายเสียง  อุปกรณ์ประกอบเครื่องขยายเสียง   เป็นต้น  เล่มนี้เนื้อหามี   8  บท    เครื่องขยายเสียงเป็นวิชาหลักและวิชาสำคัญของสาขาอิเล็กทรอนิกส์ เล่มนี้จึงน่าสนใจอีกเล่ม

หนังสือ เครื่องเสียง   เครื่องขยายเสียง



5.  หนังสือ สู่โลกอิเล็กทรอนิกส์  เป็นหนังสือน่าอ่านที่มีให้อ่านตามห้องสมุด ดูหัวข้อที่หน้าปกหนังสือ

หนังสือ สู่โลกอิเล็กทรอนิกส์


6.   หนังสือ Easy Electronics เรียนรู้จากทฏษฏีและการทดลอง  เป็นหนังสือสีน่าอ่าน หนังสือเล่มนี้ช่วยให้มีพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ที่ดี อธิบายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และนำไปใช้ทำโครงงานต่างๆถึง 38 โครงงานทดลอง
หนังสือ Easy Electronics เรียนรู้จากทฏษฏีและการทดลอง


7.  หนังสือ  วงจรอิเล็กทรอนิกส์    มี 15 บท อธิบายคุณสมบัติของทรานซิสเตอร์และเฟต มอสเฟต  การไบอัส เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากสำหรับสาขาอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากทรานซิสเตอร์และเฟต มอสเฟต มีบทบาทที่สำคัญในวงจรต่างๆตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

หนังสือ  วงจรอิเล็กทรอนิกส์


8.  หนังสือ วงจรไอซีและการประยุกต์ใช้งาน      IC  มีบทบาทที่สำคัญในวงจร  เล่มนี้กล่าวถึงคุณสมบัติของ IC พื้นฐานที่ต้องเจอในวงจรต่างๆ  และการประยุกต์ใช้งานของมัน

หนังสือ วงจรไอซีและการประยุกต์ใช้งาน


9.  หนังสือ  The Principle of  Switching  Power Supply Unit  ปฐมบทของวงจรจ่ายไฟแบบสวิตชิ่ง
กล่าวถึงวงจรพื้นฐาน  ตารางการคำนวณ วิธีการสร้าง 

8.  หนังสือ  The Principle of  Switching  Power Supply Unit


10.  หนังสือ ขั้วต่อเพื่องานเชื่อมต่อภาพและเสียง  สายสัญญาณ งานระบบภาพและระบบเสียง เป็นอีกหนึ่งวิชาที่สำคัญของสาขาอิเล็กทรอนิกส์

หนังสือ ขั้วต่อเพื่องานเชื่อมต่อภาพและเสียง


11.  หนังสือ เครื่องขยายเสียงพาวเวอร์แอมป์เพื่องานบันเทิง

หนังสือ เครื่องขยายเสียงพาวเวอร์แอมป์เพื่องานบันเทิง


12.  หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม และการออกแบบวงจร  มี 10 บท  เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบวงจร  เนื้อหาแน่นมากขึ้นเหมาะสำหรับปริญาตรี  ระดับ ปวส ก็สามารถอ่านได้

หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม และการออกแบบวงจร


13.  หนังสือ วงจรไฟฟ้ากระแสตรง และ กระแสสลับ  เนื้อหาแน่นมากขึ้นเหมาะสำหรับปริญาตรี  ระดับ ปวส และผู้ที่สนใจก็สามารถอ่านได้
หนังสือ วงจรไฟฟ้ากระแสตรง และ กระแสสลับ



14.  หนังสือ  อิเล็กทรอนิกส์กำลัง  Power  Electronics   มี 14 บท เนื้อหาแน่น เหมาะสำหรับระดับปริญาตรีขึ้นไป  ผู้ที่สนใจก็สามารถอ่านเพื่อหาความรู้ได้ การอ่านต้องใช้พื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์เพราะเนื้อหาเชิงลึก

หนังสือ  อิเล็กทรอนิกส์กำลัง  Power  Electronics



15.   หนังสือ  เครื่องมือวัดและวงจรไฟฟ้า  เข้าใจเรื่องเครื่องมือวัด เป็นอีกหนึ่งวิชาที่สำคัญสำหรับสาขาไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์

หนังสือ เครื่องมือวัดและวงจรไฟฟ้า



16.  หนังสือ จำลองการทำงาน และออกแบบวงจรพิมพ์ด้วย Circuit Wizard   การใช้โปรแกรมเพื่อช่วยออกแบบวงจร    อธิบายเป็นขั้นตอนและใช้งานง่าย   ดูเนื้อหาหน้าปก

หนังสือ จำลองการทำงาน และออกแบบวงจรพิมพ์ด้วย Circuit Wizard
                          หนังสือ จำลองการทำงาน และออกแบบวงจรพิมพ์ด้วย Circuit Wizard



17.  หนังสือ  ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วย OrCAD   การใช้โปรแกรมเพื่อช่วยออกแบบวงจร  สำหรับสาขาอิเล็กทรอนิกส์  อ่านได้ทั้งระัดบ ปวช ปวส ปริญาตรี  เนื้อหามี  16 บท  เป็นขั้นตอนและมีรูปประกอบช่วยให้เข้าใจง่าย  เรียนรู้พื้นฐานให้แน่นเพื่อการประยุกต์ใช้ในอนาคต

หนังสือ  ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วย OrCAD
                                             หนังสือ  ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วย OrCAD


4

การอ่านเบอร์ เทอร์มิสเตอร์ และ การวัดเทอร์มิสเตอร์ Thermistor


เทอร์มิสเตอร์   Thermistor



ที่ตัวเทอร์มิสเตอร์จะบอกชนิดเป็น NTC  มีชื่อเบอร์หรือชื่อรุ่นซึ่งช่วยให้เราทราบสเปคของเทอร์มิสเตอร์เบื้องต้นได้   โดยตัวเลขแรกบอกค่าโอห์มและตัวเลขตัวที่ 2 บอกขนาดความโต Dia  ของแผ่นกลมแบน
ยกตัวอย่างเบอร์  8D-20  มีค่า  8 ohm  และขนาด 20mm  ตัวอย่างเพิ่มดูในตาราง

เทอร์มิสเตอร์   Thermistor



หลังจากอ่านเบอร์เทอร์มิสเตอร์ได้และทราบสเปคเบื้องต้นแล้วมาทดลองวัดด้วยมิเตอร์  เนื่องจากมันเป็นตัวต้านทานชนิดหนึ่งวิธีการวัดจึงเหมือนกันกับการวัดตัวต้านทาน


NTC 8D-20  อ่านสเปคจากเบอร์ได้  8 ohm  ขนาด  20mm  วัดได้จริง  8.3 ohm  ถูกต้อง